อินเดียพิทักษ์ ‘แรดนอเดียว’ สำเร็จ ลักลอบล่าเป็นศูนย์

มาตรการต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ในป่าสงวนเพื่อปกป้องแรดของ ฮิมันตา บิสวา ซาร์มา มุขมนตรีแห่งรัฐอัสสัม ทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 จนถึงปัจจุบัน จำนวนแรดโดนล่าลดลงเหลือศูนย์

มาตรการต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ในป่าสงวนเพื่อปกป้องแรดของ ฮิมันตา บิสวา ซาร์มา มุขมนตรีแห่งรัฐอัสสัม ทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 จนถึงปัจจุบัน จำนวนแรดโดนล่าลดลงเหลือศูนย์ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี

รัฐอัสสัมตั้งอยู่บนพรมแดนทิเบตและพม่าเป็นเขตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมีอุทยานแห่งชาติ Kaziranga, Manas และ Orang รวมถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Pobitora ซึ่งใน 4 พื้นที่ดังกล่าวรวมกันเป็นถิ่นที่มีประชากรแรดนอเดียวมากที่สุดในโลกประมาณ 2,895 ตัว

ผู้อำนวยการตำรวจพิเศษ กานนันดรา ประทีป ซิงห์ กล่าวว่า เมื่อซาร์มาเข้ารับตำแหน่งมุขมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2021 การป้องกันลักลอบล่าแรดในป่าสงวนถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ซาร์มุ่งมั่นมาก และมาตรการของเขาของพิสูจน์ให้เห็นว่าตลอดปี 2022 ไม่มีแรดตัวใดถูกล่า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการลักลอบล่าแรดในปี 1977

ซาร์มาได้จัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ โดยความร่วมมือของหน่วยคอมมานโดกรมตำรวจและเจ้าหน้ากรมป่าไม้ ซึ่งเป็นการประสานงานทำงานร่วมกันครั้งแรกเพื่อป้องกันและต่อสู้กับผู้ลักลอบล่าสัตว์ในรัฐอัสสัม

กองกำลังเฉพาะกิจนี้ได้สร้างฐานข้อมูลขึ้นใหม่ โดยการเก็บข้อมูลมาจากการล่าแรดในอดีต ลงรายละเอียดชัดเจนว่าการล่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร ที่ไหน จุดลักลอบเข้าออกพื้นที่ป่าคือจุดใดก่อนวางแผนตั้งจุดสังเกตุการณ์และลาดตระเวน นอกจากนี้ยังมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้งชาวบ้านใรพื้นที่ และรายละเอียดของอาชญากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบล่าแรด

พิทักษ์แรดประหนึ่งดูแลประธานาธิบดี มีการสร้างหอสังเกตการณ์ ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้หน่วนคอมมานโดออกลาดตระเวนในตอนกลางคืน ทั้งยังมีอาวุธขั้นสูงให้ทีมของกรมป่าไม้ติดตัว

โดยในคืนพระจันทร์เต็มดวง ทีมลาดตระเวนจะมีมากกว่าปกติ เนื่องจากเมื่อผู้ลักลอบล่าแรดคิดว่าพวกเขามีโอกาสมองเห็น และยิงแรดได้ดีกว่าคืนอื่นๆ

แรดนอเดียว ภาพจาก WWF

กองกำลังเฉพาะกิจมุ่งเน้นไปที่เหตุการณ์การลักลอบรุกล้ำป่าสงวน จับกุมอาชญากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง และยึดอาวุธทั้งหมด ซึ่งตั้งแต่มีกองกำลังเฉพาะกิจ สามารถจับกุมผู้ลอบได้เกือบทุกสัปดาห์

ซิงห์กล่าวกับหนังสือพิมพ์ฮินดูสถานไทมส์ ว่าหากเราตรวจลาดตระเวนแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ การล่าแรดจะหยุดลงโดยสิ้นเชิง เพราะมันจะทำให้ต้นทุนการล่าแรดของพวกเขาสูงกว่ากำไรที่พวกเขาได้รับ3

แรดนอเดียวอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือโดยย่อว่า ไซเตส (CITES) 

ถึงแม้จะมีกฎห้ามค้าแต่ก็ยังมีผู้ลักลอบค้านอแรดในราคาชิ้นละหลายพันดอลลาร์สหรัฐตามที่พบเป็นข่าวอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีนและเวียดนาม 

ตามรายงานของกรมป่าไม้รัฐอัสสัมระบุว่าสาเหตุที่นอแรดมีความต้องการเนื่องจากความเชื่อว่านอแรดสามารถรักษาได้ตั้งแต่โรคมะเร็งไปจนถึงอาการเมาค้าง และสามารถใช้กระตุ้นความต้องการทางเพศได้ 

ที่มา

  • Jan 03, 2023. No rhinos poached in Assam in 2022 for 1st time in 45 years. Hindustantimes
  • Jan 24, 2023. Assam, India, Had 0 Rhino Poachings in 2022, the First Time in 45 Years. Nowthisnews
  • ภาพ : worldanimalnews

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด