หญ้าริบบิ้นของโพเซดอน ทุ่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่กว่า 200 ตร.กม.

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกใน มันไม่ใช่ต้นไม้ต้นขนาดใหญ่ แต่เป็นเครือข่ายทุ่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 200 ตารางกิโลเมตร

ดูจากภาพมันก็เหมือนแค่กลุ่มหญ้าทะเลธรรมดา ๆ แต่จริง ๆ แล้วมันเป็น “เครือข่าย” ของทุ่งหญ้าเป็นพืชเพียงต้นเดียวที่มีการ “โคลน” (clone) ตัวเองอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 4,500 ปีแล้ว

มันจึงถูกขนานนามว่าทุ่งหญ้าทะเลอมตะเพราะไม่เคยตาย แต่จะสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ มันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Posidonia australis หรือ “หญ้าริบบิ้นของโพเซดอน” ตามชื่อเทพเจ้ากรีกผู้ปกครองท้องทะเล

พวกมันอยู่ที่อ่าวฉลาม (Shark Bay) รัฐออสเตรเลียตะวันตก ไม่เหมือนกับหญ้าทะเลอื่น ๆ ในพื้นที่ ซึ่งสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เพราะ P. australis กำลังโคลนตัวเองผ่านเครือข่ายใต้ดินของรากที่แตกแขนง

และปกติสิ่งมีชีวิตจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เมื่อนักวิจัยเก็บหญ้าทะเลนี้จากฟากอ่าวที่ทอดยาวไปจรดคนละฟากและตรวจสอบเครื่องหมายทางพันธุกรรม 18,000 ตัวเพื่อหา “ลายนิ้วมือ” จากแต่ละตัวอย่าง

พวกเขาพบว่า พวกมันเป็นต้นเดียวกันทั้งหมดที่ทอดจากอีกอ่าวหนึ่งไปอีกอ่าวและยังแข็งแกร่งมากเพราะสามารถทนทานกับสภาพที่แตกต่างกันของพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ได้

โดยทั่วไปแล้วสายพันธุ์นี้จะเติบโตเหมือนสนามหญ้าในอัตราสูงถึง 35 ซม. ต่อปี และจากวิธีที่นักวิจัยประเมินคาดว่าต้องใช้เวลา 4,500 ปีที่  P. australis จะขยายตัวจนมีขนาดครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบัน

ร่างโคลนของพวกมันมีความยาวประมาณ 180 กม. ยาวติดต่อกันเป็นพืดแม้จะมีรอยแหว่งบ้าง แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้พวกมันกลายเป็นตัวอย่างสิ่งมีชีวิตโคลนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และแน่นอนว่ายังเป็นพืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

ข้อมูลจาก

  • Harry Baker. (June 1, 2022). “The world’s biggest clone is a 77-square-mile ‘immortal’ meadow of seagrass”. Live Science.
  • Tiffanie Turnbull. (June 1, 2022). “World’s biggest plant discovered off Australian coast”. BBC News.

ภาพ t: Rachel Austin, University of Western Australia)

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน