ครั้งแรกของ ‘ซีกโลกเหนือ’ อุณหภูมิทะลุเกิน 1.5 °C

แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะเคยทะลุเกณฑ์ 1.5 °C มาบ้างแล้วก่อนหน้านี้ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นใน ‘ซีกโลกเหนือ’ ในวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา

พฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก WMO คาดว่ามีความเป็นไปได้ถึง 66% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของโลกจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมจนถึงปี 2570

ซีกโลกเหนือ คือบริเวณของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปจนถึงขั้วโลกเหนือ ประกอบไปด้วยทวีปยุโรปทั้งทวีป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกากลาง ภูมิภาคแคริบเบียน พื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปเอเชีย ยกเว้นติมอร์ตะวันออกที่อยู่ซีกโลกใต้ อินโดนีเซียและมัลดีฟส์บางส่วนที่มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับเส้นศูนย์สูตร พื้นที่ราวสองในสามของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่บริเวณจะงอยแอฟริกาขึ้นไป พื้นที่ราวหนึ่งในสิบของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่บริเวณทิศเหนือของปากแม่น้ำแอมะซอนขึ้นไป

อุณหภูมิที่เกิน 1.5 °C แม้จะเกิดชั่วคราวแต่การเกิดขึ้นบ่อยนั้น บ่งชี้ได้ว่าโลกเรากำลังเข้าใกล้ระดับสภาพอากาศในระยะยาวที่แท้จริง

ปัจจัยหลักคือความล้มเหลวในการบริหารจัดการของแต่ละประเทศที่เคยร่วมลงนามตกลงในสนธิสัญญาปารีสว่าจะพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยในระยะยาวของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

“เราหมดเวลาแล้วเพราะการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา” Sarah Perkins-Kirkpatrick นักภูมิอากาศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียกล่าว

ครึ่งปีแรกของ 2566 ผ่านไปมีเหตุการณ์ ‘ทุบสติถิ’ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมุมโลกทั้งบนบกและในทะเล

  • กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน อุณหภูมิในเดือนมิถุนายนทำลายสถิติ
  • สหรัฐอเมริกา เจอคลื่นความร้อนสูงพัดถล่ม ทำให้บางส่วนของอเมริกาเหนือมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลประมาณ 10 °C ในเดือนนี้
  • แคนาดา เผชิญไฟป่าที่โหดร้ายที่สุด ปล่อยคาร์บอนประมาณ 160 ล้านเมตริกตัน
  • อินเดีย หนึ่งในภูมิภาคที่เปราะบางต่อสภาพอากาศมากที่สุดมีรายงานผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่สูง อย่างต่อเนื่อง
  • และความร้อนจัดใน
  • สเปน อิหร่าน และเวียดนาม เกิดความวิตกว่า ความร้อนจัดในฤดูร้อนที่ร้ายแรงของปีที่แล้วอาจกลายเป็นมาตรฐานปกติของประเทศ

ในช่วงปลายเดือนมีนาคมอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ 21 °C ทุบสถิติและคงอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตลอดเดือนเมษายนและพฤษภาคม หน่วยงานด้านสภาพอากาศของออสเตรเลียเตือนว่าอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียอาจร้อนกว่าปกติถึง 3 °C ภายในเดือนตุลาคม

เพียร์ส ฟอร์สเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อุณภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงขึ้น แต่ปรากฏการณ์เอลนีโญ การลดลงของฝุ่นละอองในทะเลทรายซาฮาราที่พัดปกคลุมมหาสมุทร และการใช้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันต่ำล้วนเป็นเหตุกระตุ้นให้อุณหภูมิสูงขึ้น โดยสรุปแล้วมหาสมุทรกำลังถูกโจมตีถึงสี่เท่า และนี่คือเป็นสัญญาณของสิ่งที่กำลังจะมาถึง

ทะเลที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดการแพร่ของสาหร่ายบลูมที่เกิดจากความร้อนได้ทำให้สิงโตทะเลในแคลิฟอร์เนียป่วยและตายไปโดยไม่ทราบจำนวน ปลานับพันตัวต้องตายเกยตื้นอยู่บนชายหาดเท็กซัส

อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังส่งผลให้ลมและฝนน้อยลง ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ที่นำไปสู่ความร้อนมากยิ่งขึ้น แอนนาลิซา บรักโก นักภูมิอากาศวิทยาแห่งสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียกล่าว

อ้างอิง

Jul 3, 2023. World hits record land, sea temperatures as climate change fuels 2023 extremes. The Reuters

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด