มติเป็นเอกฉันท์ ให้ ‘ศาลโลก’ รับร้องหากรัฐเพิกเฉยต่อการแก้ปัญหาโลกร้อน

ตัวแทนวานูอาตูประเทศเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกรวมตัวกันเพื่อขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกพิจารณาในประเด็นยื่นฟ้องประเทศต่างๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่สามารถดำเนินการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

มตินี้ถูกนำเข้าวาระการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกว่า 130 ประเทศ เว้นแต่ 2 ประเทศผู้ก่อมลพิษอากาศรายใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ไม่แสดงการสนับสนุน แต่ไม่ได้คัดค้าน นั่นหมายความว่ามติดังกล่าวผ่านมติเอกฉันท์

การยอมรับโดยฉันทามติสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับความจริงที่ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นและสร้างความหายนะให้กับประเทศที่ยากจนที่สุดไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว

มติของสหประชาชาติครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในแพขนานใหญ่ทางกฎหมายและการทูตที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “มติดังกล่าวจะช่วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกดำเนินการด้านสภาพอากาศที่ชัดเจนและเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่โลกของเราต้องการอย่างยิ่ง”

มตินี้โดยพื้นฐานแล้วประเทศสมาชิกกำลังขอให้ศาลโลกแสดงความคิดเห็นว่ารัฐบาลมี “ภาระผูกพันทางกฎหมาย” ในการปกป้องผู้คนจากอันตรายจากสภาพอากาศหรือไม่ และที่สำคัญกว่านั้นคือความล้มเหลวในการปฏิบัติตาม ภาระผูกพันเหล่านั้นอาจนำมาซึ่ง “ผลทางกฎหมาย”

แม้ว่าความเห็นจากศาลโลกจะไม่มีผลผูกพันกับศาลภายในประเทศแต่การสร้างกฎทางกฎหมายระหว่างประเทศอาจมีอิทธิพลต่อผู้พิพากษาและรัฐบาล นอกจากนี้ยังแสดงถึงความพยายามในการจัดทำพันธกรณีการดำเนินการด้านสภาพอากาศภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

แต่ผู้สนับสนุนหวังว่าความคิดเห็นของศาลโลกจะช่วยชี้นำให้ประเทศต่างๆ เสริมสร้างนโยบายด้านสภาพอากาศภายในประเทศของตนให้แข็งแกร่งโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศเพื่อปกป้องสิทธิของประชากรกลุ่มเสี่ยงในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศมากที่สุด

วานูอาตูยังเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเกาะที่เปราะบางซึ่งกำลังเร่งทำสนธิสัญญาหยุดเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกเช่นเดียวกับเกาะที่ราบลุ่มอื่น ๆ เกาะนี้อยู่ในแนวหน้าของอันตรายจากสภาพอากาศ

ล่าสุดวานูอาตูย้ายหมู่บ้าน 6 แห่งบนเกาะ 4 เกาะ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูง แหล่งน้ำมีความเค็มมากจนไม่สามารถดื่มได้ น้ำทะเลที่อุ่นขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประมงซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ เนื่องจากปลาอพยพออกห่างจากน่านน้ำอาณาเขตของวานูอาตูมากขึ้นเรื่อยๆ

ประเทศวานูอาตู

ที่มา

  • Mar 29, 2023. UN General Assembly Seeks World Court Ruling on Climate Change. Human Rights Watch
  • Mar 29, 2023. Can Nations Be Sued for Weak Climate Action? We’ll Soon Get an Answer. NYTimes
  • Mar 29, 2023. ‘A win of epic proportions’: World’s highest court can set out countries’ climate obligations after Vanuatu secures historic UN vote. CNN

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน