นวัตกรรม ‘รียูส’ สุดล้ำ ประหยัดน้ำสไตล์ญี่ปุ่น ล้างมือแล้วนำมาใช้ชักโครกต่อ

หากใครไปญี่ปุ่นบ่อยๆ หรือเคยอาศัยอยู่ที่นั่นคงจะเคยเห็นสุขภัณฑ์แบบไฮบริดที่ด้านบนไม่ได้เป็นฝาปิดชักโครกธรรมดาๆ แต่เป็นซิ้งค์หรืออ่างล้างมือที่มีก๊อกน้ำพร้อมสรรพ และเมื่อล้างมือแล้วน้ำจะไหลลงสู่ช่องเก็บน้ำของชักโครกด้านล่างเพื่อรอสำหรับการใช้งานชำระล้างการถ่ายหนักและเบาต่อไป

นี่เป็นเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นใช้กันมานับสิบปีแล้วในการรับรู้ของคนต่างชาติ แต่เอาจริงๆ ญี่ปุ่นใช้มันมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้อมูลจากเว็บไซต์ตรวจสอบห้องน้ำ Toilet Found! ตั้งข้อสังเกตว่าระบบชักโครกได้รับความนิยมในญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะอสังหาริมทรัพย์มีราคาสูง 

สุขภัณฑ์แบบนี้จึงมีไว้สำหรับห้องน้ำขนาดเล็กและห้องนั่งเล่น นอกจากข้อจำกัดด้านพื้นที่แล้ว ระบบยังช่วยประหยัดและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่ต้องใช้เครื่องทำความร้อนในการอุ่นน้ำ ซึ่งอาจช่วยลดค่าสาธารณูปโภคได้อีกด้วย แต่แน่นอนว่ามันทำให้ต้องใช้น้ำเย็นๆ (เหมือนกับบ้านญี่ปุ่นที่ค่อนข้างเย็น) 

ถ้ามันยังประหยัดน้ำไม่พอ ก๊อกในญี่ปุ่นปรับระดับการใช้น้ำให้น้อยลงมาโดยตลอด มีช่วงหนึ่งใช้น้ำใช้เพียง 0.47 ลิตรต่อการล้างมือ 1 ครั้ง ซึ่งช่วยประหยัดน้ำประปาได้ประมาณ 84% เมื่อเทียบกับปี 1960 วิธีการก็คือการใช้ฟองอากาศเพื่อลดปริมาณน้ำ ซึ่งในเวลานี้เป็นระบบก๊อกที่ใช้กันทั่วโลกด้วย 

สุขภัณฑ์แบบไฮบริดนี้มีราคาไม่แพงไปกว่า 100 ดอลลาร์ แต่ญี่ปุ่นไม่หยุดแค่นั้น ยังมีสุขภัณฑ์ที่ไฮเทคมากๆ ในแง่ “การบริการ” ผู้ใช้และการประหยัดน้ำ เช่น Neorest ของบริษัท Toto มีฟังก์ชั่นล้างคู่ที่จะใช้เพียง 0.8 แกลลอนต่อการกดหนึ่งครั้ง หากมีคนใช้ในการปัสสาวะ

สำหรับโถสุขภัณฑ์คู่ Neorest 750H มีราคาสูงถึง 10,400 ดอลลาร์ แต่จากการศึกษาของ Toto พบว่าผู้หญิงญี่ปุ่นกดชักโครก 2.3 ครั้งในการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้ง ซึ่งในระยะยาวมันน่าจะคุ้มในแง่ของการประหยัดในครัวเรือนและในระดับประเทศ เพราะในญี่ปุ่น ห้องสุขาใช้น้ำประปามากที่สุดที่บ้าน คิดเป็น 28%

ข้อมูลจาก

  • http://news.nost.jp/2014/03/waterbesparende-technologieen-in-japan/
  • https://www.familyhandyman.com/article/toto-toilet-saves-water/
  • https://www.snopes.com/fact-check/sink-toilet-japan/

ภาพจาก @aikidoarts/twitter

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่