วิจัยพบ ‘โรงงานรีไซเคิล’ อังกฤษ ปล่อยไมโครพลาสติกลงน้ำ

นักวิจัยพบโรงงานรีไซเคิลแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรปล่อยไมโครพลาสติกมากับน้ำเสียมากถึง 1,184 ตันต่อปี

ทีมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัย Strathclyde ในสกอตแลนด์ และมหาวิทยาลัย Dalhousie University Halifax ในแคนาดา พบว่าเทคนิคในการรีไซเคิลพลาสติกอาจนำไปสู่การเพิ่มไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมโดยไม่ตั้งใจ 

จากการเก็บตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานรีไซเคิลที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร โดยพบว่ามีไมโครพลาสติกเจือปนมาในน้ำเสียสูงถึง 13% ของพลาสติกที่ผ่านกระบวนการทั้งหมด

โดยประเมินได้ว่าน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตรจากโรงงานแห่งนี้มีไมโครพลาสติกเจือปนสูงถึง 75 พันล้านชิ้น อนุภาคพลาสติดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน โดยมากกว่า 80% มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน

จากการตรวจสอบระบบกรองสามารถกำจัดไมโครพลาสติกที่มีขนาด 5 – 40 ไมครอน นั่นเท่ากับว่าไมโครพลสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจะเล็ดลอดออกมาจากการกรองและถูกปล่อยทิ้งมากับน้ำเสียมากถึง 59-1,184 ตันต่อปี

ในกระบวนการรีไซเคิลนั้นจะเริ่มจากคัดแยก ล้างทำความสะอาดเป็นจำนวนหลายครั้ง และหั่นย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการหลอมให้เป็นเม็ดพลาสติกเพื่อนำกลับไปใช้อีกครั้ง

นักวิจัยตั้งข้อสังเหตว่าในกระบวนการรีไซเคิล ตั้งแต่คัดแยก หั่น และอัดขึ้นรูปเป็นเม็ดพลาสติก ล้วนใช้แรงเสียดทานเชิงกล การขัดสี หรือวิธีการเทียบเท่า สามารถเพิ่มความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในน้ำเสียของโรงงานได้ 

ผลการวิจัยยังพบว่าในอากาศรอบๆ โรงงานรีไซเคิลมีปริมาณอนุภาคไมโครพลาสติกขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนสูงถึง 61% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว

โรงงานแห่งนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีในการติดตั้งระบบกรองน้ำ ในขณะที่โรงงานรีไซเคิลหลายแห่งอาจไม่ทำเช่นนั้น ซึ่งการค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงระบบการกรองของโรงงานรีไซเคิลพลาสติกและการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อกำหนดขนาดของภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 

อ้างอิง

  • May 9,2023. UK recycling facility found to be releasing up to 1184 tons of microplastics annually, find researchers. Packaginginsight
  • May 16, 2023. Who Said Recycling Was Green? It Makes Microplastics By the Ton. InsideclimateNews

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน