ความย้อนแย้งคว่ำบาตรรัสเซีย ยุโรปยังจ่ายค่าพลังงานนับพันล้าน แนะลดอุณหภูมิฮีตเตอร์ลง 1 องศา

ถึงแม้ในขณะนี้จะมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในมอสโก แต่ยุโรปยังคงซื้อก๊าซและน้ำมันจากรัสเซียมูลค่านับพันล้านยูโรในทุกวัน นั่นเท่ากับรายได้มหาศาลจากพลังงานสำหรับรัสเซียยังเป็นแหล่งเงินทุนในการทำสงคราม ในเดียวกันการใช้พลังงานฟอสซิลก็จะยังอยู่ในระดับที่ไม่สามารถลดลงตามเป้าหมายต่อไป

ฟาติฮ์ บิรอล ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า การปรับอุณหภูมิภายในบ้านลง 1 องศาเซลเซียสจะช่วยประหยัดก๊าซได้ประมาณ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรภายในหนึ่งปี ซึ่งจะช่วยประหยัดการนำเข้าก๊าซของรัสเซียได้ทั้งหมด 155,000 ล้านลูกบาศก์เมตร นั่นหมายถึงการใช้พลังงานฟอสซิลต่อปีก็จะลดลงด้วย

“รัสเซียกำลังใช้ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจและการเมือง เรื่องนี้ชัดเจนสำหรับทุกคนในโลก” บิรอล กล่าวเป็นนัยทางอ้อมในการคว่ำบาตรเศรษฐกิจรัสเซีย

โดยเฉพาะยุโรปที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลจากรัสเซียเป็นหลัก IEA จึงแนะให้ชาวยุโรปควรลดอุณหภูมิของเครื่องทำความร้อนลง 1 องศาเซลเซียส เพื่อประหยัดน้ำมันและลดการพึ่งพาการนำเข้าของรัสเซีย  ซึ่งหากดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการอื่น ๆ จะช่วยลดค่าพลังงานในครัวเรือนได้

IEA ยังเสนอแผน 10 ข้อ เช่น แนะไม่ให้รัฐบาลยุโรปลงนามในสัญญาก๊าซฉบับใหม่กับบริษัท Gazprom ซึ่งเป็นกิจการพลังงานของรัสเซีย หรือการต่ออายุข้อตกลงที่หมดอายุ และแสวงหาแหล่งก๊าซทดแทนจากที่อื่นในโลก เนื่องจากสหภาพยุโรปพึ่งพาก๊าซรัสเซียประมาณ 40% ของปริมาณการใช้ก๊าซทั้งหมด 

IEA ยังแนะให้รัฐบาลในยุโรปควรเรียกเก็บภาษีจากบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้นเพราะบริษัทพวกนี้ได้ลาภลอยจากผลตอบแทนมหาศาลจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย 

“ภาษีลาภลอย” ควรนำมาใช้เพื่อช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายพลังงานสำหรับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาอย่างหนัก และเพื่อทำตามตามแผนของ IEA เพื่อลดการนำเข้าก๊าซของรัสเซียประมาณหนึ่งในสามก่อนฤดูหนาวหน้า

เครดิต uktimenews

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลยุโรปบางประเทศลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ เช่น เยอรมนีที่ปิดโรงงานนิวเคลียร์ไปถึงครึ่งหนึ่ง แต่ IEA ระบุ การปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งตามแผนก็ควรจะชะลอไปก่อนเช่นกัน 

เยอรมนรีเลิกพึ่งพลังงานนิวเคลียร์ เพราะหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เมื่อเดือน มี.ค. 2011 มีการประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ในเยอรมนี จนรัฐบาลได้ประกาศว่าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดภายในปี 2022

พลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมนีคิดเป็น 13.3% ของการจ่ายไฟฟ้าในเยอรมนีโดยมาเกิดจากโรงไฟฟ้า 6 แห่ง  แต่ 3 แห่งถูกปิดไปเมื่อปลายปี 2021 และอีก 3 แห่งจะหยุดให้บริการในช่วงปลายปี 2021ตามแผนการเลิกใช้นิวเคลียร์

ในต้นปี 2022 แผนนี้ถูกตั้งคำถามอีกครั้งเนื่องจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียซึ่งคุกคามอุปทานของก๊าซธรรมชาติของเยอรมนี มีการเรียกร้องให้ชะลอการปิดเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลืออีก 3 เครื่องที่เหลือ หรือให้เริ่มเครื่องปฏิกรณ์ที่ปิดตัวลงในช่วงปลายปี 2021 อีกครั้ง

IEA ยังแนะให้ชาติในยุโรปเร่งระบบราชการให้เร็วขึ้นเพื่ออนุมัติการสร้างแหล่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในบ้านและธุรกิจต่าง ๆ ที่จะต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน 

IEA กล่าวว่าคำแนะนำนั้นสอดคล้องกับแผนของสหภาพยุโรปในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายมุ่งวิถีสีเขียวทางเศรษฐกิจ (European green deal) ของยุโรป ทั้งยังไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าการรุกรานยูเครน ปูตินลดการจ่ายก๊าซมายังยุโรปลง 25% และหากปูตินจะลดการจ่ายก๊าซของยุโรปออกไปอีก ทำให้ราคาก๊าซสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน จนสหภาพยุโรปต้องหันไปใช้ถ่านหินแทนลดการใช้มัน

นอกจากนี้ แม้ว่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำของ IEA ทั้งหมด แต่สหภาพยุโรปจะลดการพึ่งพาก๊าซของรัสซียลงได้ประมาณแค่หนึ่งในสามเท่านั้น ทำให้ยุโรปยังคงต้องพึ่งพาการควบคุมทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซียอย่างมากอยู่ดี

อ้างอิง:

  • Fiona Harvey. (3 Mar 2022) “Turn down heating by 1C to reduce need for Russian imports, Europeans told”. Guardian.
  • Wikipedia contributors. “Nuclear power in Germany.” Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 3 Mar. 2022. Web. 4 Mar. 2022.
  • David James . (Mar 3, 2022) “To help Ukraine, you can also turn down the heat!” . Blaze Trends

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน