ถังแช่แข็งขยะอินทรีย์สุดคูล อุณหภูมิลบ -11 องศา ช่วยให้คนญี่ปุ่นปลอดกลิ่นเหม็น ต้นทุนค่าไฟแค่ 2 บาทกว่าต่อวัน

บริษัท Nakanishi Kinzoku Kogyo ปล่อยผลิตภัณฑ์สุดคูล (ซึ่งมันคูลจริง ๆ) นั่นคือ Clean Box ซึ่งเป็นถังขยะที่ใช้เทคโนโลยีของตู้แช่แข็ง สามารถเก็บขยะอินทรีย์ที่อุณหภูมิ -11 องศาเซลเซียส จึงช่วยยับยั้งการผลิตแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น

เว็บไซต์ของบริษัทบอกว่า “กลิ่นขยะ ผ้าอ้อม ผ้าอนามัยสัตว์เลี้ยง ฯลฯ ที่เราเจอปัญหากับมันทุกวัน ด้วยการแช่แข็ง “ขยะกลิ่น” เหล่านี้ คุณสามารถกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้” โดยเทคโนโลยีแช่แข็งแบบเดียวกับที่ใช้กับตู้แช่แข็งในห้องครัวนั่นเอง

พวกเขาบอกว่า ด้วยการลดอุณหภูมิภายใน Clean Box หรือ BOX ลงเหลือ -11 องศาเซลเซียส ทำให้ขยะไม่แข็งตัวไปเลย เพียงแค่ระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ และ “สามารถทิ้งได้โดยไม่รู้สึกหงุดหงิด” และยังออกแบบให้มีกล่องชั้นในที่ถอดออกมาล้างได้ด้วยความจุ 20 ลิตร 

ถามว่าทำไมต้องลำบากแช่แข็งขยะด้วย? (ซึ่งมันต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มโดยไม่จำเป็นหรือเปล่า?) บริษัทบอกว่า มันช่วยอำนวยความสะดวกจากการที่ทางการในท้องที่ต่าง ๆ มาเก็บขยะสัปดาห์ละสองครั้ง กำหนดเวลาแบบนี้ทำให้ขยะที่มีกลิ่นจะคงอยู่ในบ้านระยะหนึ่ง 

และบริษัท Nakanishi Kinzoku Kogyo ได้แนวคิดนี้มาในปี 2017 ตอนที่พวกเขาอ่านเรื่องทางออนไลน์เกี่ยวผู้คนที่พูดคุยเกี่ยวกับการวางขยะในตู้เย็นในครัวเพื่อกำจัดกลิ่นต่าง ๆ (เพื่อรอรถขยะมาเก็บแค่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์) ซึ่งอันที่จริงเรื่องนี้เป็นปัญหาถกเถียงในหมู่ชาวญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว

จากการสำรวจในปี 2016 พบว่าประมาณ 1 ใน 5 ของคนญี่ปุ่นที่ตอบแบบสอบถามพยายามเก็บขยะในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง และในจำนวนนี้มีเพียง 1 และ 5 คนเท่านั้นที่ยังคงทำเช่นนั้น

ระบบการเก็บของญี่ปุ่นนั้นเข้มงวดมากนอกจากจะแยกขยะแบบถี่ถ้วนล้วน การเก็บยังเป็นเวลา หากพลาดไปนิดเดียวก็จะทิ้่งขยะไม่ได้ ยิ่งเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน (นั่นคือตอนนี้) จะทำให้ขยะอินทรีย์เน่าเสียง่ายและส่งกลิ่นเหม็นมาก ถ้าทิ้งขยะพลาดก็อาจต้องทนอยู่กับมันกันข้ามสัปดาห์

Clean Box มีราคา 48,180 เยน (ประมาณ 12,614 บาท) แต่ละกล่องบรรจุได้ 20 ลิตร (4 แกลลอน) มีขนาด 69 x 23 x 44 ซม. (27 x 9 x 17 นิ้ว) ค่าพลังงานโดยประมาณในการดำเนินการหนึ่งครั้งอยู่ที่ประมาณ 9 เยน (ราว 2.36 บาท) ต่อวัน ซึ่งดูจากค่าไฟแล้วไม่ได้แพงมากเลย 

ข้อมูลจาก

  • https://cleanbox.jp/2019
  • https://bit.ly/3Oe038w

ภาพ:  Nakanishi Kinzoku Kogyo

Related posts

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

อุณหภูมิทะลุ 3.1°C แผนลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 เป็นเรื่องเพ้อฝัน