ภัยพิบัติป่วนโลกในช่วง 20 ปี ทั้งโลกเสียหายเฉลี่ย 590 ล้านบาท/ชั่วโมง

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วก่อให้เกิดความเสียหายทั่วโลกรวม 2.86 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (104 ล้านล้านบาท) เฉลี่ยปีละ 143 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  (5 ล้านล้านบาท) หรือประมาณ 16.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  /ชั่วโมง (590 ล้านบาท/ชั่วโมง)

เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่พึงประสงค์อย่างมีนัยสําคัญทั้งสําหรับตัวบุคคล บริษัท ชุมชนและเศรษฐกิจในภูมิภาค จากฐานข้อมูลภัยพิบัติระหว่างประเทศ (EM-DAT) ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รายงานว่าตั้งแต่ปี 1970 ความเสียหายจากสภาพอากาศสุดขั้วนั้นเพิ่มขึ้นเจ็ดเท่า

วิธีที่นักวิจัยนำมาใช้การศึกษาเรียกว่า Extreme Event Attribution (EEA) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบความเชื่อมโยงของระดับก๊าซเรือนกระจกจากมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ก่อนนำมาวิเคราะห์เพื่อคำนวนความเสียหายต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

จากการรวบรวมข้อมูล 185 เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2000-2019 นักวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจสุทธิ 260.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  มียอดผู้เสียชีวิตสุทธิอยู่ที่ 60,951 ราย สัดส่วนมูลค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นคิดเป็นพายุเฮอริเคน 53%  คลื่นความร้อน 16% น้ำท่วม 10% ภัยแล้ง 10ไฟป่า 2% และเหตุการณ์จากคลื่นความเย็น 2% ของความเสียหายสุทธิที่เกิดขึ้น

โดยสรุปแล้วเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ารวม 2.86 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละ 143 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  ซึ่งตัวเลขความเสียหายแต่ที่เกิดขึ้นแต่ละปีนั้นแตกต่างกันมาก โดยปี 2001 ค่าความเสียหายอยู่ที่ 23.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งต่ำที่สุด  ขณะที่ปี 2008 ค่าความเสียหายอยู่ที่ 620 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงที่สุด

3 ลำดับปีที่มีค่าค่าเสียหายสูงสุดคือปี 2008 ที่เกิดเหตุพายุหมุนเขตร้อนนาร์กิสในพม่า ปี 2003 จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนในยุโรป และปี 2010 จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนในรัสเซียและภัยแล้งในโซมาเลีย ซึ่งค่าใช้จ่ายจากความเสียหาย เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่ (63%) เกิดจากการสูญเสียชีวิต

อย่างไรก็ตามทีมนักวิจัยเชื่อว่าตัวเลขความเสียหายที่คำนวนวนอออกมานั้นต่ำกว่ายอดรวมที่แท้จริง เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลยังมีจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้น้อย และความสูญเสียส่วนใหญ่ยังไม่รวมต้นทุนด้านสภาพภูมิอากาศเพิ่มเติม เช่น จากการลดลงของผลผลิตพืชผลและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น

อิลัน นอย หนึ่งในทีมวิจัย ตั้งข้อสังเกตว่าข้อมูลคลื่นความร้อนที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตของมนุษย์มีเฉพาะในยุโรปเท่านั้น “เราไม่รู้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนจำนวนเท่าใดในอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮาราของแอฟริกา” อิลัน ให้สัมภาษณ์ The Guardian

อิลันยังกล่าวว่าแต่ละประเทศสามารถนำวิธีการศึกษาแบบ EEA ที่พวกเขาใช้คำนวนค่าความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ไปใช้คำนวนหาตัวเลขเงินทุนสำหรับกองทุนการสูญเสียและความเสียหาย (Lost & Damage Fund) ที่จัดตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 ในปี 2022 (COP 27) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ชดเชยค่าเสียหายให้กับประเทศ ที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดแคลนเงินทุน ซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นจะถูกจัดสรรจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ที่มา 

  • Sep 29,2023. The global costs of extreme weather that are attributable to climate change. Nature Communications.
  • Oct 9, 2023. Climate crisis costing $16m an hour in extreme weather damage, study estimates. The Guardian

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย