นักวิทยาศาสตร์จีนพบว่าการกระพริบตาของ ‘กบตัวเมีย’ เป็นการกระตุ้นให้กบตัวผู้สนใจเพื่อการผสมพันธุ์
คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนพบว่าพฤติกรรม ‘การกะพริบตา’ ซึ่งมีสมมติฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณประเภทหนึ่งที่มักพบได้ในสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) เช่นมนุษย์และลิง ยังสามารถพบได้ในกบตัวเมียซึ่งเป็นสัตว์นอกตระกูลไพรเมต
คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยครูอันฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำการวิจัยพฤติกรรมการส่งสัญญาณของกบโอดอร์รานา ทอร์โมตา (Odorrana tormota) ที่อยู่นอกเหนือบทบาทการทำงานทางสรีรวิทยาแบบดั้งเดิม เช่น การกระพริบตาเพื่อหล่อลื่นกระจกตา หรือการกำจัดฝุ่นละออง
โดยจากการศึกษาพบว่า ‘กบตัวเมีย’ นอกจากการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสื่อสารแล้ว ยังใช้การกระพริบตาเป็นการส่งสัญญาณสื่อสารกับกบตัวผู้ที่พวกมันชื่นชอบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์
จากการสังเกตภาคสนามและบันทึกเป็นคลิปวิดีโอพบว่า
กบตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้สำเร็จ ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณกระพริบตาเท่านั้น และหากปราศจากสัญญาณนี้เท่ากับมีความเสี่ยงว่ากบตัวเมียจะปฏิเสธการผสมพันธุ์
จางฟาง หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านพฤติกรรมการสื่อสารของกบ เสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของการสื่อสารด้วยภาพระหว่างสัตว์
ที่มา : สำนักข่าวซินหัว
แฟ้มภาพซินหัว : กบเกาะบนกิ่งไม้ที่อุทยานธรรมชาติในสิงคโปร์ วันที่ 12 เม.ย. 2022