มากินโปรตีนจากแมลงกันเถอะ คุณค่าโภชนาการสูงไขมันต่ำ เลี้ยงง่ายไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม

บริษัทเทคโนโลยีอาหารของอิสราเอลที่ชื่อว่า Hargol กำลังเลี้ยงตั๊กแตนเพื่อผลิตอาหารและขนมชนิดต่าง ๆ รวมถึงกัมมี่แบร์หรือเยลลีรูปหมีที่มี 2 รส ได้แก่ สตรอว์เบอร์รี่และส้ม และยังผงโปรตีนรสช็อกโกแลต  

เครดิต Canva

แมลงเหล่านี้เลี้ยงด้วยหญ้าอินทรีย์ในอิสราเอล เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารกำจัดศัตรูพืชเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการเพาะพันธุ์ ก่อนที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นผงโปรตีน

ตั๊กแตนเป็นแมลงที่กินกันอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการมาก เว็บไซต์ของ Hargol ระบุว่า ตั๊กแตนมีโปรตีนทั้งหมด 72% พร้อมด้วยโอเมก้า 3 จากธาตุเหล็ก สังกะสี แคลเซียม และวิตามินอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

ที่สำคัญไม่มีไขมันอิ่มตัวหรือโคเลสเตอรอล จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพแทนแหล่งโปรตีนจากฟาร์ม เช่น เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม

แมลงเหล่านี้ไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์เท่านั้น แต่การกินอาหารที่ผลิตตั๊กแตนยังดีต่อโลกอีกด้วย เพราะการเลี้ยงตั๊กแตนในฟาร์มใช้ปริมาณน้ำที่น้อยมาก ซึ่งทำให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการเลี้ยงน้อยตามไปด้วย

Tamir อ้างว่าเมื่อเทียบกับการผลิตเนื้อวัว การทำฟาร์มตั๊กแตนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 99% การใช้น้ำ 1,000 ครั้ง และการใช้ที่ดินทำกิน 1,500 เท่า

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ มีแมลงในโลกที่กินได้มากกว่า1,900 ชนิด และ Hargol ก็แนะนำว่าควรจะกินพวกมันให้มากกว่านี้ เช่น พวกมด ปลวก หนอนใยอาหาร หากต้องการเปลี่ยนไปสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น

ที่จริงแล้วผู้คนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกชื่นชอบการกินแมลง เช่น ในชุมชนต่าง ๆ ของแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลาง และตะวันออกกลาง อาทิ ประเทศกานา บราซิล และญี่ปุ่น กินกันมาเป็นเวลานาน แต่สำหรับประเทศตะวันตกยังปรับตัวช้าที่สุดในการรับประทานอาหารยั่งยืนเหล่านี้

ก่อนหน้านี้ Dror Tamir ผู้ก่อตั้ง Hargol กล่าวว่า ภายในปี 2050 คาดว่าประชากรโลกจะสูงถึง 9,800 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 7,700 ล้านคนในปัจจุบัน อาหารที่มาจากแมลงจะเป็นทางเลือกสำหรับการเลี้ยงดูประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้โปรตีนจากแมลงจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเลี้ยงโค แกะ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

ศาสตราจารย์โรบิน เมย์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนส่วนใหญ่มาพร้อมกับรอยเท้าคาร์บอนหรือการทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ว่าเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากนม

ทว่าโปรตีนจากแมลงบางชนิด เช่น จิ้งหรีดบดหรือหนอนใยอาหารแห้งแช่แข็งมีราคาถูก เลี้ยงง่าย มีไขมันต่ำ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเนื้อสัตว์

บริษัท Hargol ทำฟาร์มตั๊กแตนในโรงงานที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในอาคารในภาคเหนือของอิสราเอล สายพันธุ์หลักที่ผสมพันธุ์คือตั๊กแตนอพยพ แต่ยังเลี้ยงตั๊กแตนทะเลทรายโดยสามารถเพาะพันธุ์ตั๊กแตนได้ถึง 400 ล้านตัวต่อปี โดยที่เสริมแมลงใช้เวลาเพียง 29 วันในการเจริญเติบโตเต็มที่

อ้างอิง:

Nichola Daunton (Feb 18, 2022) “Gummy bears made of locusts are now a thing” . Euronews

Natalie Lisbona (23 Sep 23, 2021) “The edible insects coming to a supermarket near you” . BBC

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย