ภาพกำเเพงกันคลื่นตามแนวชายฝั่งของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนเป็นที่ประจักษ์ถึงปรากฎการณ์แพร่ระบาดของกำเเพงกันคลื่นอย่างรุนเเรง จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า การใช้โครงสร้างดังกล่าวสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วปัญหานี้สามารถหาแนวทางอื่นรับมือสถานการณ์พังทลายของชายหาดที่กำลังเกิดขึ้นได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “กำเเพงกันคลื่น”
#สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
หลายทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ส่งผลให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ขยายขอบเขตความเสียหายกว้างมากขึ้น และยิ่งสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญยิ่งทำให้บางภูมิภาคของโลกเกิดความแห้งแล้ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเสี่ยงเผชิญอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าระดับปกติ และอาจเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกอาจต้องเผชิญกับความแห้งแล้งฉับพลัน หรือในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำฝนอาจเผชิญกับพายุฝนรุนแรง เป็นต้น (1)
ปัญหาไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือตอนบนเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี แม้ภาครัฐจะออกมาตรการมาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ตรงจุด มูลนิธิกระจกเงาเป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งทีมอาสาสมัครไปช่วยดับไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่
ในวันที่โลกกำลังต่อสู้กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้ชัดเจนจากการเกิดภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ ไฟป่ารุนแรง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วาตภัยขนาดใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอื่น ๆ
ความหิวล้อมเราไว้หมดแล้ว! ในวันที่โลกกำลังตกอยู่ท่ามกลาง “วิกฤตอาหาร” ซึ่งร้ายแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากประชากรบางกลุ่มไม่มีอาหารสำหรับบริโภคอย่างเพียงพอ ทั้งยังขาดแคลนอาหารปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยตั้งแต่ปี 2543 จนถึง 2562 ไทยได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติถึง 146 ครั้ง กระทบ GDP ถึงร้อยละ 0.82 โดยเฉพาะมหาอุทกภัยในปี 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยธนาคารโลกประเมินว่า มหาอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดนี้มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท
จากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกต่างต้องประสบกับนานาวิกฤตรายล้อมที่ต้องจัดการ แต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดที่ประชาคมโลกต้องร่วมกันรับมือแก้ไข โดยมีภารกิจสำคัญร่วมกันในการเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้เป็นไปตามเป้าหมายหมายความตกลงปารีสไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
สภาวะโลกร้อนไม่เพียงทำให้ผู้คนทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญความเสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน แต่ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากความเจ็บป่วย และโรคระบาดใหม่ ๆ ต่อมนุษยชาติด้วยเช่นกัน
‘เอลนีโญ’ ชื่อที่หลายคนได้ยินมานาน เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลให้ฝนตกน้อยและเกิดภาวะแห้งแล้ง จากการคาดกาณ์ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่าปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นแล้วในครั้งนี้จะกระตุ้นให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นอีก ทำให้โลกต้องเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งคลื่นความร้อน น้ำท่วม และไฟป่า
ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนหรือคาร์บอนซิงค์ ที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าไม้ถึง 10 เท่า ดึงคาร์บอนลงไปกักเก็บไว้ในใต้ดินได้ถึงร้อยละ 50 – 99 โดยมหาสมุทรเป็นคาร์บอนซิงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 ใน 4 ที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 141-146 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ปี 2565 นับเป็นก้าวย่างสำคัญของประเทศไทยในการเริ่มต้นลงมืออย่างเป็นรูปธรรมในการนำ “บลูคาร์บอน” (Blue …