ประเทศไทยจะรอดพ้นจากวิกฤตโลกร้อนและสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ตามนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ คงไม่อาจเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย และรวดเร็ว หากทุกภาคส่วนไม่ร่วมมือร่วมใจกันขับเคลื่อน จึงเป็นที่มาในการจัดตั้ง “เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network)” หรือ TCNN ขึ้น
กองทุนสื่อ
ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่อันดับที่ 21 ของโลก โดยในปี 2019 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) …
หนึ่งในตัวอย่างคนออกแบบการใช้ชีวิตให้ “สมดุล” อย่าง พสุธ รัตนบรรณางกูร หรือ “พี่โพ” ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว เขากับคู่ชีวิต “หนูดี” วนิษา เรซ มีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกันเพราะกินแพลนต์ เบส เหมือนกัน แต่ทั้งคู่ก็บอกกับตัวเองว่า จะไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป และไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเป๊ะกับทุกเรื่อง
โรงเรียนวนิษาตั้งอยู่สุขุมวิท 26 ใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนในเมือง แต่มีพื้นที่สีเขียวค่อนข้างเยอะ ทั้งที่ปากซอยคือห้างเอ็มโพเรียมและเอมควอเทียร์ เด็กนักเรียนที่นี่มีอาหารแพลนต์ เบส กิน แต่ไม่ได้บังคับรับประทานทั้งโรงเรียน เพราะเสิร์ฟอาหารหลากหลาย แค่ให้กินแพลนต์ เบส สัปดาห์ละ 1 วัน และเป็นการเสิร์ฟโดยไม่ได้บอกว่าคืออะไร
เกษตรกรรมฟื้นฟูมีมานานมากแล้วเพราะเป็นเกษตรตามธรรมชาติซึ่งตรงกันข้ามกับระบบเกษตรในปัจจุบันที่พึ่งพาสารเคมี หรือเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าความปลอดภัยของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
“เปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นทุน มันช่วยลดค่าใช้จ่าย..ถ้าเราทำ แต่ถ้าไม่ทำมันจะเป็นทุนทางสิ่งแวดล้อม” เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ เจ้าของร้านอาหารโบ.ลานกล่าว ขณะเล่าถึงแนวคิดและวิธีการเปลี่ยนปลายทางขยะเศษอาหารจากหลุมฝังกลบที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไปเป็นทุน
ปี2566 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ราว 1.25 ล้านตัน พบเป็นสัดส่วนของขยะอาหารมากถึงร้อยละ 39 คิดเป็นปริมาณ 9.68 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่าประชากร 1 คน ผลิตขยะอาหาร 146 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
ภาพกำเเพงกันคลื่นตามแนวชายฝั่งของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนเป็นที่ประจักษ์ถึงปรากฎการณ์แพร่ระบาดของกำเเพงกันคลื่นอย่างรุนเเรง จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า การใช้โครงสร้างดังกล่าวสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วปัญหานี้สามารถหาแนวทางอื่นรับมือสถานการณ์พังทลายของชายหาดที่กำลังเกิดขึ้นได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “กำเเพงกันคลื่น”
ใคร ๆ คงรู้จัก ก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า เราทุกคนต้องช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก แต่จะช่วยอย่างไรเล่า หรือจะให้เราเริ่มต้นจากตรงไหนดี
หลายทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ส่งผลให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ขยายขอบเขตความเสียหายกว้างมากขึ้น และยิ่งสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญยิ่งทำให้บางภูมิภาคของโลกเกิดความแห้งแล้ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเสี่ยงเผชิญอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าระดับปกติ และอาจเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกอาจต้องเผชิญกับความแห้งแล้งฉับพลัน หรือในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำฝนอาจเผชิญกับพายุฝนรุนแรง เป็นต้น (1)