สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) วันที่ 14 เม.ย. 2566 ติดอันดับ 12 ของโลก ขณะที่ จ.เชียงใหม่ อยู่อันดับที่ 4 จากที่ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งวันเว็บไซต์ IQAIR ซึ่งรายงานการจัดอันดับคุณภาพอากาศทั่วโลก ระบุว่า เชียงใหม่ติดอันดับ 1 ของโลก …
pm2_5
สภา กทม.ผ่านวาระ 1 ร่างกฎหมาย “รถเมล์อนาคต” หรือรถเมล์ไฟฟ้า หวังให้คนกรุงเทพฯ ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ขึ้นภายใน 7 ปี หลังจากสัมปทานเดินรถเดิมสิ้นสุดลง และต่อไปจะต้องให้บริการรถเมล์ไฟฟ้าเท่านั้น
ผลการศึกษาใหม่ของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดเผยการสัมผัส PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
มตินี้ถูกนำเข้าวาระการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกว่า 130 ประเทศ เว้นแต่ 2 ประเทศผู้ก่อมลพิษอากาศรายใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ไม่แสดงการสนับสนุน แต่ไม่ได้คัดค้าน นั่นหมายความว่ามติดังกล่าวผ่านมติเอกฉันท์
ระดับมลพิษอากาศที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียความหนาแน่นขอมวลกระดูก โดยเฉพาะที่กระดูกสันหลังส่วนเอวในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
PM2.5 ที่เพิ่มเพียง 1 มคก./ลบ.ม เสี่ยงกระตุ้นคนฆ่าตัวตาย
การศึกษาเพื่อประเมินผลของการสัมผัส PM2.5 ที่สูงขึ้นในระยะสั้น ส่งผลให้อาการทางจิตหลายประเภทแย่ลง จากจำนวนคนไข้ที่เข้าห้องฉุกเฉินทางจิตเวชและเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการพยายามฆ่าตัวตาย
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 กว่า 7 หมื่นคน (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) และมลพิษอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดเลือดในสมอง หัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด และติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ฯลฯ การสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปทุกจึงเสมือนการตายผ่อนส่ง
แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เมืองกรุง
ซับซ้อน-ต้นทุนสูง-ตายปีละ 5 หมื่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นเรื่องยากต่อการอธิบาย สร้างความเข้าใจ และความตระหนักต่อประชาชน โดยเฉพาะภัยคุกคามจากมลพิษอากาศ อย่างเช่นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือฝุ่น PM2.5 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า แต่ละปีในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรร่วม 5 หมื่นคน และมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มูลค่า 8-9 แสนล้านบาท
ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานกลางภายใต้รัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองชี้แจงหลังภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อศาลปกครองกลางกรณีละเลยหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5