อิรักเป็นหนึ่งในประเทศของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงเป็นเวลาหลายเดือน จึงมีการดึงน้ำจากอ่างเก็บน้ำโมซุลซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญที่สุดของอิรักมาใช้แก้ปัญหาพืชผลที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีก่อน แต่เจอปรากฎการณ์ที่น่าตะลึงเมืองเจอเมืองโบราณโผล่กลางทะเลสาบ
climatechange
ฟินแลนด์ตั้งเป้าแกร่งที่สุดในโลก
ประเทศแรกที่ผ่านกฎหมาย
ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ปี 2035
รัฐสภาของฟินแลนด์ได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้คำมั่นว่าจะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2035 (พ.ศ. 2578) และการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ (Carbon negative) ภายในปี 2040 (พ.ศ. 2583)
ผู้นำเมืองรณรงค์ลดโลกร้อน บิน 9 ชม.
เพื่อขึ้นเวที TED แค่ 14 นาที
นี่มันย้อนแย้ง ‘ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง’
มาร์วิน รีส (Marvin Rees) นายกเทศมนตรีเมืองบริสตอล ในสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำรณรงค์ต่อต้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อลดโลกร้อน แต่ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” ด้วยการเดินทางด้วยเครื่องบินนานถึง 9 ชั่วโมงเพื่อไปพูดเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในงานสัมมนา TED ที่แคนาดา และเขาก็ใช้เวลาพูดเรื่องใหญ่ ๆ นี้ แค่ 14 นาที
โลกร้อนทำให้การนอนหลับลดลง
เฉลี่ยประมาณ 15 นาทีต่อคืน
คนจะซื้อเครื่องปรับอากาศมากขึ้น
ล่าสุดมีงานวิจัยเรื่อง “อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่อนทำลายการนอนหลับของมนุษย์ทั่วโลก” ที่ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้ความถี่ของการนอนหลับไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นในประชากรหลายกลุ่ม
ภาวะโลกร้อนป่วนมหาสมุทร
ท้องทะเลลึกสูญเสียความทรงจำ
ทำนายผลกระทบต่อระบบนิเวศยากขึ้น
วิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศ หมายถึง “การคงอยู่ชั่วขณะของสภาวะมหาสมุทรผิดปกติ” โดยวัดจากความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่คงอยู่ทุกปี และเป็นแหล่งสำคัญของการคาดการณ์ในระบบภูมิอากาศ
ออสเตรเลียมุ่งการเมืองใหม่
คนเลือกพรรคสีเขียวเข้าสภา
ผลักดันนโยบายสู้โลกร้อน
สรุปการเลือกตั้งทั่วไปที่สั่นสะเทือนวงการเมืองทั่วโลก เมื่อคนออเสตรเลียที่เคยถูกมองว่าทำตัวขัดขวางการต่อสู้ภาวะโลกร้อน (เพราะมีรัฐบาลที่ไม่เอาใจใส่เรื่องนี้) ล่าสุดคนพากันเลือกรัฐบาลใหม่ที่ชูนโยบายสู้โลกร้อนแบบตรงไปตรงมา เป็นการเปลี่ยนวิถีการเมืองแบบ 360 องศากันเลยทีเดียว ต่อไปนี้เราจะมาสรุปให้เห็นภาพว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ผ่านไปไม่ถึง 7 ปี นับตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงปารีส หรือเมื่อตั้งแต่ปี 2015 แต่รายงานฉบับใหม่ระบุว่า โลกอาจใกล้จะเลยขีด?จำกัดอุณหภูมิที่จัดทำโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เป็นครั้งแรกว่ามีโอกาสประมาณ 50:50 ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5?C เหนือระดับก่อนอุตสาหกรรมอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในปี 2026
เพนกวินจักรพรรดิขั้วโลกใต้
อาจสูญพันธุ์ 30-40 ปีข้างหน้า
เพราะอุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแอนตาร์กติกแห่งอาร์เจนตินา (IAA) เตือนว่า เพนกวินจักรพรรดิที่อาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกาและทะเลที่เย็นยะเยือกของแถบขั้วโลกใต้ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมากในอีก 30 ถึง 40 ปีข้างหน้า
‘แคคตัส’ เสี่ยงสูญพันธุ์
ทั้งที่เป็นพืชทนแบบสุดๆ
แต่ต้านอากาศแปรปรวนไม่อยู่
อาจกล่าวได้ว่า “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลกนี้ แม้กระทั่งกระบองเพชรหรือ แคคตัส ที่ทนต่อทุกสภาพอากาศแบบสุด ๆ แล้ว ยังไม่เว้นตกเป็นพืชเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก
ถ้าจะคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศา
ทั่วโลกต้องลดปล่อยก๊าซพิษลง 43%
ภายใน 8 ปีนับจากนี้ (ไม่น่ารอด)
สถานการณ์คับขันขึ้นทุกที เมื่อรายงานของ IPCC ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายร้อยคนและ 195 ประเทศให้การยอมรับระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010 “ในทุกภาคส่วนหลักทั่วโลก”