พื้นที่ดินเยือกแข็งถาวรหรือ Permafrost ในยุโรปและไซบีเรียตะวันตกกำลังเข้าใกล้ ‘จุดเปลี่ยน’ เพราะภาวะโลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ดินเยือกแข็งถาวรปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 39,000 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณคาร์บอนสองเท่าที่เก็บไว้ทั่วป่ายุโรปทั้งหมด
โลกร้อน
ผลพวงจากวิกฤตไฟป่าในออสเตรเลียที่รุนแรงและเกิดถี่ขึ้นส่งผลให้ชั้นโอโซนฟื้นตัวช้าลง มีส่วนทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตช่วงคลื่นความถี่ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง ซึ่งกระทบต่อต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์
รายงานสภาพภูมิอากาศโลก
‘ถ้ายังรีรอ ต้องตายแน่ ๆ’
เด็กเสี่ยงภูมิอากาศสุดขั้ว 4 เท่า
สรุปคำเตือนล่าสุดที่น่าหวั่นใจจากรายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change – หรือ IPCC) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ทำให้เกิดอันตรายและภาวะหยุดชะงักในธรรมชาติอย่างกว้างขวาง และส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก แม้จะพยายามลดความเสี่ยงกันแล้วก็ตาม
ผลการศึกษาพบว่าอีก 58 ปี มหาสมุทรประมาณ 70% บนโลกจะประสบกับภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการหากินของปลาจำนวนมากที่มนุษย์บริโภค เท่ากับจะเป็นลางร้ายการเผชิญภาวะขาดแคลนอาหารทะเล
ข้อมูลดาวเทียมที่รวบรวมโดย Polar Portal ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันวิจัยของรัฐบาลเดนมาร์กพบว่า กรีนแลนด์ได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้วกว่า 4,700 พันล้านเมตริกตันในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หรือปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมทั้งสหรัฐอเมริกาในระดับ 0.5 เมตร
ชวนปลูกป่าขายคาร์บอนเครดิต
ปี 65 ตั้งเป้ากว่า 6 แสนไร่
ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก 1.8 แสนตัน
กระทรวงสิ่งแวดล้อมเชิญชวนประชาชนและชุมชนร่วมกันปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาวในอนาคตจากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยวางเป้าดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่ป่าภายในปี 2580 จำนวน 120 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า มีพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพกว่า 1.1 ล้านไร่ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
ยูนีซ นิวตัน ฟุท ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ. 2399 โดยได้ตั้งทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป เท่ากับเป็นการค้นพบภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนครั้งแรกอย่างที่เรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้นั่นเอง ยูนีซ นิวตัน ฟุท …
ในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่มีการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่คึกคักที่สุดปีหนึ่ง ทว่า รายงานแต่ละชิ้นไม่ได้ทำให้วงการวิทยาศาสตร์คึกคักไปด้วย เพราะทุกฉบับเตือนเราว่าสถานการณ์กำลังน่าเป็นห่วง โลกร้อนกำลังทำลายองค์ประกอบทุกอย่างของโลก ไม่เฉพาะแค่สภาพอากาศ แต่ยังรวมถึง ดิน ทะเล และไฟป่าที่เกิดถี่ขึ้น และเมื่อองค์ประกอบเหล่านี้เสื่อมถอยลง มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ