สรุปการเลือกตั้งทั่วไปที่สั่นสะเทือนวงการเมืองทั่วโลก เมื่อคนออเสตรเลียที่เคยถูกมองว่าทำตัวขัดขวางการต่อสู้ภาวะโลกร้อน (เพราะมีรัฐบาลที่ไม่เอาใจใส่เรื่องนี้) ล่าสุดคนพากันเลือกรัฐบาลใหม่ที่ชูนโยบายสู้โลกร้อนแบบตรงไปตรงมา เป็นการเปลี่ยนวิถีการเมืองแบบ 360 องศากันเลยทีเดียว ต่อไปนี้เราจะมาสรุปให้เห็นภาพว่ามันเกิดอะไรขึ้น
โลกร้อน
ผ่านไปไม่ถึง 7 ปี นับตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงปารีส หรือเมื่อตั้งแต่ปี 2015 แต่รายงานฉบับใหม่ระบุว่า โลกอาจใกล้จะเลยขีด?จำกัดอุณหภูมิที่จัดทำโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เป็นครั้งแรกว่ามีโอกาสประมาณ 50:50 ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5?C เหนือระดับก่อนอุตสาหกรรมอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในปี 2026
นี่คือผลลัพธ์แบบต่อหน้าต่อตา
อากาศร้อนจัดธารน้ำแข็งละลาย
น้ำท่วมหนักสะพานปากีสถานขาด
หากใครยังคิดว่าภาวะโลกร้อนมันเป็นเรื่องไกลตัวให้ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับปากีสถานในเวลานี้ เมื่อสะพานฮัสซานาบาดของแคว้นฮุนซา บนทางหลวงคตาราโครัมอันลือชื่อ ถูกทำลายโดยกระแสน้ำน้ำท่วมฉับพลันที่ทะลักมาจากทะเลสาบน้ำแข็งจากธารน้ำแข็งชิศเปอร์
เพนกวินจักรพรรดิขั้วโลกใต้
อาจสูญพันธุ์ 30-40 ปีข้างหน้า
เพราะอุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแอนตาร์กติกแห่งอาร์เจนตินา (IAA) เตือนว่า เพนกวินจักรพรรดิที่อาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกาและทะเลที่เย็นยะเยือกของแถบขั้วโลกใต้ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมากในอีก 30 ถึง 40 ปีข้างหน้า
สาหร่ายทะเลสีแดงฮาวาย
อาหารเลี้ยงวัวช่วยลดก๊าซมีเทน
หนึ่งในความหวังลดโลกร้อน
Asparagopsis taxiformis คือชื่อวิทยาศาสตร์ของสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง มันมีชื่อลำลองว่า “สาหร่ายบานสีแดง” ก็เพราะว่ามันสีแดงผสมกับสีเขียวนั่นเอง
ผลการศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2022 ในวารสาร Nature พบว่าภาวะโลกร้อนจะปลดปล่อยไวรัส 4,000 สายพันธุ์ให้แพร่กระจายระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นระหว่างสัตว์และมนุษย์ เป็นครั้งแรกภายในปี 2070
ช่วง 2 – 3 ปีมานี้รัสเซียต้องเจอกับไฟป่าระดับวิกฤตที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ไซบีเรียไปจนถึงอาร์กติก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นก็จริง แต่มันกำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก และเกิดไฟป่ามากขึ้นตามไปด้วย
‘แคคตัส’ เสี่ยงสูญพันธุ์
ทั้งที่เป็นพืชทนแบบสุดๆ
แต่ต้านอากาศแปรปรวนไม่อยู่
อาจกล่าวได้ว่า “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลกนี้ แม้กระทั่งกระบองเพชรหรือ แคคตัส ที่ทนต่อทุกสภาพอากาศแบบสุด ๆ แล้ว ยังไม่เว้นตกเป็นพืชเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก
ถ้าจะคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศา
ทั่วโลกต้องลดปล่อยก๊าซพิษลง 43%
ภายใน 8 ปีนับจากนี้ (ไม่น่ารอด)
สถานการณ์คับขันขึ้นทุกที เมื่อรายงานของ IPCC ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายร้อยคนและ 195 ประเทศให้การยอมรับระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010 “ในทุกภาคส่วนหลักทั่วโลก”
เลขา UN หมดหวังปกป้องโลก
ไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศา
ถ้ามัวหาน้ำมันทดแทนจากรัสเซีย
อันโตนิโอ กูแตร์เรส (António Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) เผยว่า ปีที่แล้วเพียงปีเดียว การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น 6% สู่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ในขณะที่การปล่อยถ่านหินเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด