โลกร้อน

ประเทศไทยเอาไงดี? ส่องความคืบหน้าแผนรับมือโลกร้อน

จากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกต่างต้องประสบกับนานาวิกฤตรายล้อมที่ต้องจัดการ แต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดที่ประชาคมโลกต้องร่วมกันรับมือแก้ไข โดยมีภารกิจสำคัญร่วมกันในการเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้เป็นไปตามเป้าหมายหมายความตกลงปารีสไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

Read more

ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ กินพื้นที่กว่า 54% ของแนวปะการังทั้งหมด

องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกกำลังเริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นครั้งที่ 4 ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงผู้คนและเศรษฐกิจที่พึ่งพาแนวปะการัง ปัจจัยกระตุ้นปรากฎการณ์นี้หนีไม่พ้น ‘สภาวะโลกเดือด’

Read more

อุณหภูมิโลกระอุต่อเนื่อง เตรียมรับมือผลกระทบคลื่นความร้อนสุดขั้ว ปี 67

ภายหลังโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติภูมิอากาศอย่างหนักหนาสาหัสมาตลอดทั้งปี 2566 โดยเฉพาะภัยจากคลื่นความร้อนสุดขั้ว ที่ส่งผลให้ปี 2566 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึก อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สถิตินี้อาจมีอายุไม่ยืดนัก เพราะเราอาจจะต้องเจอกับปีที่ร้อนจัดยิ่งกว่าในปี 2567

Read more

อุณหภูมิโลกเสี่ยงสูงเกินต้าน ไทยเตรียมเผชิญ ‘ปิศาจคลื่นความร้อน’

ปี 2566 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากค่าพื้นฐานในช่วงปี 2359-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าปี 2559 และ 2563 ที่เคยทำสถิติสูงสุดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะแล้งที่ยาวนาน นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากยุคก่อนอุตสาหกรรมปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้ (1)

Read more

คลื่นความร้อนมันร้าย!

ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน

Read more

สภาวะโลกเดือด เบื้องหลังภัยพิบัติ ‘สุดขั้ว’ ปี 66

สังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงปี 2566 เรามักเห็นข่าวภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก นับตั้งแต่คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งหนักสุดในประวัติศาสตร์ ไฟป่าลามเผาทั้งเมืองวอดวาย หรือแม้กระทั่งพายุฝนถล่มเมืองกลางทะเลทรายจนเมืองจมน้ำ จนนับได้ว่าปี 2566 ถือเป็นปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ (1) ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาทบทวนถึงสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลกตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจความร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราทุกคนกำลังเผชิญ ปีแห่งความแห้งแล้ง ไฟป่า และคลื่นความร้อน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ อันโตนิโอ กุเตอเรส…

Read more

วังวนทศวรรษคนจมฝุ่น มลพิษ PM2.5

PM2.5 เป็นหนึ่งในมลพิษอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาต่อเนื่องกว่า 10 ปี กระทั่งในปี 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ มีมติเพิ่มเติมให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็น “วาระแห่งชาติ”

Read more

5 ประเด็นโลกร้อน ถ้าไม่หยุดเชื้อเพลิงฟอสซิล อุณหภูมิจะสูงทะลุขีดจำกัด

เพื่อความเข้าใจสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน แม้ผลการประชุม COP28 จะได้ฉันทานุมัติว่าจะ “เปลี่ยนผ่าน” เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั่วโลกจะหยุดขุดเจาะเชื้อเพลิงโบราณนี้มาใช้ ในปีนี้จึงสามารถสรุปสถานการณ์ความคืบหน้าปัญหาโลกร้อนออกมาได้ 5 ประเด็น ดังนี้

Read more

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ‘ความร้อน’ จะคร่าชีวิตคนเพิ่ม 370%

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคาดว่าการเสียชีวิตจาก ‘ความร้อน’ จะเพิ่มขึ้น 370% ต่อปี ภายในกลางศตวรรษนี้ หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

Read more

วงการเบียร์สะเทือน โลกรวนทำดอกฮอปส์เสี่ยงกลายพันธุ์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสำคัญกับกลิ่นและรสชาติของเบียร์มากขึ้น ซึ่งส่วนประกอบที่ทำให้เบียร์มีรสขมและกลิ่นหอมคือ ดอกฮอปส์ ยิ่งดอกฮอปส์คุณภาพสูง รสชาติและกลิ่นยิ่งเป็นที่ดึงดูด แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่าคุณสมบัติความขมของดอกฮอปส์เสี่ยงลดลง เนื่องจากการคลื่นความร้อนและความแห้งแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Read more