โลกร้อน

‘ปูหิมะ’ อะแลสกาลดฮวบ
หายจากทะเลไปหลายพันล้านตัว
เหตุทำประมงเกินขนาด-โลกร้อน

ประชากรปูหิมะในทะเลแบริ่งต่ำของอะแลสกาต่ำกว่าเกณฑ์จากการทำประมงเชิงพาณิชย์ที่ต่อเนื่องและล้นเกิน โดยข้อมูลของ Benjamin Daly ระบุว่า ตัวเลขปูหิมะลดลงจากประมาณ 8,000 ล้านตัวในปี 2018 เหลือแค่ 1,000 ล้านตัวในปี 2021 นักวิทยาศาสตร์ระบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการประมงที่จับปูมากเกินไป และที่สำคัญเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่อุ่นขึ้นจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิรอบๆ อาร์กติกอุ่นขึ้นเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ทำให้ภูมิภาคอาร์กติกสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอย่างรวดเร็ว…

Read more

ญี่ปุ่นคว้ารางวัลกู๊ดดีไซน์
ผลิตมีดโกนกระดาษไร้พลาสติก 98%

บริษัทญี่ปุ่นออกแบบมีดโกนแบบใช้แล้วทิ้งที่ทำจากกระดาษ หรือ Paper Razor ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นใบมีดโกนแบบใช้แล้วทิ้งที่ทำจากกระดาษอันแรกของโลก โดยหัวและใบมีดก็ไร้พลาสติกเนื่องจากทำจากโลหะ ในขณะที่ด้ามจับสามารถกันน้ำ ซึ่งช่วยให้ใช้งานขณะเปียกได้ “Paper Razor มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนมีดโกนให้กลายเป็นสินค้าปลอดพลาสติก และลดการทิ้งพลาสติก เราใช้กระดาษสำหรับด้ามจับและโลหะสำหรับใบมีดและส่วนหัวทำจากกระดาษ 98% ยึดหลักการเดียวกับกล่องนมและช้อนกระดาษที่กันน้ำ มีเฉพาะส่วนใบมีดเท่านั้นที่ผสมสี 2% ” Kai ระบุ นั่นเท่ากับเป็นการช่วยลดการใช้พลาสติกได้…

Read more

ถ้าไม่ทำอะไร..ฝนจะหนักขึ้น
น้ำทะเลหนุนเสี่ยงท่วมไปถึงอยุธยา
พื้นที่แล้งจะแล้งหนัก ท่วมจะท่วมหนัก

มีข้อมูลบ่งชี้แล้วว่าหลายพื้นที่ของไทย พื้นที่แล้งจะแล้งหนัก และท่วมจะท่วมหนัก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่แน่ว่าในอนาคตไปเชียงรายอาจจะไม่หนาวแล้ว

Read more

ค้นพบไมโครพลาสติกบนใบพืช
ครั้งแรกจากน้ำที่ขังบนใบพืช

ไมโครพลาสติกได้แพร่กระจายทะลุทะลวงสู่ระบบนิเวศเกือบทุกแห่งหนในโลก ทั้งที่ถูกค้นพบในดิน แม่น้ำ อาหาร และแม้กระทั่งในร่างกายของมนุษย์ เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิจัยพบว่า ไมโครพลาสติกในน้ำติดอยู่ในซอกใบพืชเป็นครั้งแรก

Read more

พืชมหัศจรรย์สู้โลกร้อน
เปลี่ยนชื่อ ‘สาเก’ เป็น ‘ผลขนมปัง’
สามารถกินแทนข้าวได้

ในไทยเราอาจมองว่า “สาเก” เป็นแค่ผลไม้ที่นำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน แต่ในหลายๆ ประเทศในแถบหมู่เกาะเขตร้อน มันคืออาหารหลักแบบเดียวกับที่คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะสาเกมีคาร์โบไฮเดรต 27% สามารถกินแทนแป้งได้ และทำให้มันมีชื่อว่า Breadfruit หรือ “ผลขนมปัง” ซึ่งสามารถปลูกในสภาพอากาศที่โลกร้อนขึ้นและเริ่มมีปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร

Read more

คาดภายในสิ้นศตวรรษนี้
ทั่วโลกจะร้อนขึ้น 3 องศา
เข้าสู่ภาวะอันตรายอย่างยิ่ง

ดัชนีความร้อน (heat index) คือตัวชี้วัดว่าบุคคลๆ หนึ่งมีแนวโน้มที่จะทนความร้อนได้ถึงเกณฑ์เมื่อใด โดยสำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ กำหนดระดับ “อันตราย” ของดัชนีความร้อนไว้ที่ 103 องศาฟาเรนไฮต์ (39.4 องศาเซลเซียส) และ “อันตรายอย่างยิ่ง” ที่ 125 องศาฟาเรนไฮต์ (51.7 องศาเซลเซียส)

Read more

วิพากษ์เวทีขับเคลื่อนแก้โลกร้อน
เมินวิถีชุมชน-ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ภาคประชาสังคมอัดการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐ เปิดโอกาสแค่กลุ่มธุรกิจคาร์บอน แต่ไม่ให้ความสำคัญกับชุมชนกลุ่มเปราะบาง ชายขอบ ประชาสังคม ไม่มีการนำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมต่อนิเวศ ต่อประชาชนและต่อคนรุ่นถัดไป

Read more

Eco-grief อารมณ์รันทด
จากวิกฤตสิ่งแวดล้อม (ที่ไม่แก้ไข)
ทำให้คนเศร้าจนอยากฆ่าตัวตาย

Eco-grief  หรือ Ecological grief  หรือ Climate grief  หมายถึงความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ได้เห็นการเสื่อมถอยของแนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลียได้รายงานถึงประสบการณ์ของพวกเขาที่เกิดความวิตกกังวล ความสิ้นหวัง และความสิ้นกำลังใจ

Read more

โปรเจกต์บรรเจิดสู้โลกร้อน
สร้างแพลูกบอลอวกาศขนาดเท่าบราซิล
สะท้อนกลับรังสีจากดวงอาทิตย์

ในขณะที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น คำถามเกี่ยวกับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเริ่มเร่งด่วนมากขึ้นว่าผลกระทบด้านลบของเราไปไกลเกินไปหรือไม่? สายเกินไปที่เราจะย้อนกลับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่? .

Read more

ค้นพบราชาแห่งผึ้งที่สาบสูญ
บน 6 เกาะในอินโดนีเซีย
หนึ่งในสายพันธุ์ที่ใหญ่สุดของโลก

Megachile pluto หรือที่รู้จักในชื่อผึ้งยักษ์ของวอลลเซ (Wallace Wallace’s giant bee) หรือในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า raja ofu (แปลว่า ราชาแห่งผึ้ง) เป็นผึ้งเรซินขนาดใหญ่ของอินโดนีเซีย มีปีกกว้าง 63.5 มม. เป็นผึ้งสายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดที่รู้จักกันดี

Read more