PM2.5 ปีนี้รุนแรงสุดในรอบ 5 ปี กรุงเทพฯ -เชียงใหม่แทบไม่มีอากาศดีให้หายใจ เตือนหากไร้มาตราการรับมือที่ชัดเจนปีหน้าฝุ่นควันหนักกว่าเดิม
มลพิษอากาศ
รายงานใหม่เผยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะคลื่นความร้อน สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) เปิดรายงานผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพเด็ก ระบุ คลื่นความร้อน มลพิษอากาศ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล น้ำท่วม และภาวะโรคจากการติดเชื้อ ล้วนเป็นปัจจัยหลักจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอายุ 0-18 ปี โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจและอัตราการติดเชื้อสูงขึ้น ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง และเกิดความเสี่ยงสูงต่อความไม่ปลอดภัยในที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล ความเสี่ยงหนึ่งที่น่ากังวลว่าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการศึกษาของเด็กคือ คลื่นความร้อนที่สูงขึ้น เด็กมีความเปราะบางกว่าผู้ใหญ่ …
วิจัยเผย ‘นาโนพลาสติก’ อนุภาคขนาดจิ๋วจากไนลอนที่พบได้ในเสื้อผ้าสามารถแทรกซึมเข้าร่างกายมนุษย์เพียงสูดลมหายใจ เสี่ยงกระทบภาวะสืบพันธุ์
หุ่นยนต์แมงกระพรุนตัวใหม่เคลื่อนไหวนุ่มนวลไร้เสียง เอื้อต่อการเก็บอนุภาคขึ้นมาจากพื้นมหาสมุทรได้โดยไม่กระทบระบบนิเวศ
สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (EEA) เผยมลพิษอากาศเป็นเหตุให้การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเด็กและวัยรุ่นในยุโรปมากกว่า 1,200 รายทุกปี
ภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนสมการให้เป็น ‘ภัยแล้งฉับพลัน’ ที่เกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่สัปดาห์
ผลการศึกษาใหม่ของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดเผยการสัมผัส PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ออกประกาศขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งทำงานที่บ้านในส่วนที่ไม่กระทบต่อการบริการประชาชน หลังค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ไทยตื่นนัด ‘ลาว-เมียนมา’ ถกแก้ฝุ่นควันข้ามแดนนานกว่า 28 ปี
วันที่ 7 เม.ย. ที่จะถึงนี้จะมีการประชุมระดับผู้นำประเทศเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนระหว่างไทย ลาว และเมียนมา โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการแก้ปัญหา ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 28 ที่ผ่านมา ประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะไทยได้ใช้วิธีการประสานสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อขอความร่วมมือให้เพื่อนบ้านลดการเผา ซึ่งสรุปได้ว่าวิธีการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
มตินี้ถูกนำเข้าวาระการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกว่า 130 ประเทศ เว้นแต่ 2 ประเทศผู้ก่อมลพิษอากาศรายใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ไม่แสดงการสนับสนุน แต่ไม่ได้คัดค้าน นั่นหมายความว่ามติดังกล่าวผ่านมติเอกฉันท์