คลื่นความร้อนโจมตีโลกอย่างรุนแรง ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิทย์คาดการณ์ว่าเป็นไปได้ที่อุณหภูมิจะสูงเกิน 1.5 องศา
คลื่นความร้อน
ปี 2566 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากค่าพื้นฐานในช่วงปี 2359-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าปี 2559 และ 2563 ที่เคยทำสถิติสูงสุดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะแล้งที่ยาวนาน นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากยุคก่อนอุตสาหกรรมปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้ (1)
ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน
สังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงปี 2566 เรามักเห็นข่าวภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก นับตั้งแต่คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งหนักสุดในประวัติศาสตร์ ไฟป่าลามเผาทั้งเมืองวอดวาย หรือแม้กระทั่งพายุฝนถล่มเมืองกลางทะเลทรายจนเมืองจมน้ำ จนนับได้ว่าปี 2566 ถือเป็นปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ (1) ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาทบทวนถึงสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลกตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจความร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราทุกคนกำลังเผชิญ ปีแห่งความแห้งแล้ง ไฟป่า และคลื่นความร้อน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ อันโตนิโอ กุเตอเรส …
คลื่นความร้อนที่ถาโถมจีน ยุโรป และสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยหากปราศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์
คลื่นความร้อนแตะจุดสูงสุดที่ 53 องศาเซลเซียส ในทะเลทรายแคลิฟอร์เนียทางตะวันตกของสหรัฐ ขณะที่น้ำท่วมฉับพลันยังคงคุกคามภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย
คลื่นความร้อนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เพชฌฆาตเงียบ’ ด้วยเหตุผลว่ามันสามารถสร้างความเสียหายที่มองไม่เห็น การตั้งชื่อและจัดหมวดหมู่คลื่นความร้อนจะช่วยให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐเตรียมพร้อมรับมือต่อสู้ความร้อน และสร้างความตระหนักรู้ใหม่ในสังคมร่วมกัน
คลื่นความร้อนเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่มีผลกระทบสูงสุดในแง่ของจำนวนผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรป ฤดูร้อนในปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตสูงถึง 61,000 ราย โดยเฉพาะประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีซ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน
สำนักงานสภาพอากาศแห่งชาติคาดการณ์ว่าอินเดียจะเผชิญอุณหภูมิที่สูงขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ซ้ำรอยจากปีที่แล้ว ซึ่งทำให้พืชผลเสียหายเป็นวงกว้างและทำให้ไฟดับนานหลายชั่วโมง