ปลัดกระทรวงทรัพย์บิน ฮ.สำรวจเวียงป่าเป้า ยืนยันว่าป่าสมบูรณ์ ไม่ใช่สาเหตุดินโคลนถล่ม เตรียมประกาศพื้นที่เสี่ยงดินถล่มที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า
สภาพอากาศสุดขั้ว
สภาพอากาศสุดขั้วทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละ 5 ล้านคน โดยการเสียชีวิตจาก “ความหนาวเย็น” มีมากกว่าการเสียชีวิตจาก “ความร้อน” คนทั่วไปคิดว่าการเสียชีวิตจากอุณหภูมิสุดขั้ว มักจินตนาการถึงคนที่เป็นโรคลมแดด หรือเสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไป แต่ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจาก “ความร้อน” หรือ “ความหนาวเย็น” โดยตรง แต่พวกเขาเสียชีวิตจากภาวะต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต การติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือโรคเบาหวาน (ไม่มีคำว่า …
ทางการกรีซตั้งข้อหาผู้โดยสารและลูกเรือบนเรือยอทช์รวม 13 ราย ฐานวางเพลิง หลังมีการจุดพลุดอกไม้ไฟเล่นบนเรือ จนเป็นชนวนให้เกิดไฟป่าบนเกาะไฮดรา วาซิลิส คิคิเลียส รัฐมนตรีกระทรวงวิกฤตสภาพภูมิอากาศของกรีซ เปิดเผยว่า กลางดึกของคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้ป่าสนบนเกาะไฮดรา ซึ่งเกาะเป็นเกาะท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศกรีซ การควบคุมเพลิงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากบริเวณที่เกิดการลุกไหม้นั้นไม่มีถนนตัดผ่าน ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้เรือดับเพลิงเข้าควบคุมไฟ และเฮลิคอปเตอร์ปล่อยน้ำจากอากาศ กว่าจะคุมไฟได้ก็พบว่ามีพื้นที่ถูกไฟไหม้ไปแล้วกว่า 750 ไร่ พยานในเหตุการณ์ระบุว่า คืนวันศุกร์มีเรือยอทช์ลำหนึ่งจุดพลุดอกไม้ไฟขณะแล่นผ่านเกาะไฮดรา …
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนกำลังตกเป็นเป้าการโจมตีของคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง บางพื้นที่กำลังสำลักมลพิษอากาศจากฝุ่น PM2.5 อยู่แล้ว ทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายอยู่เดิมยิ่งมีอันตรายมากขึ้นถึงชีวิต
ภายหลังโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติภูมิอากาศอย่างหนักหนาสาหัสมาตลอดทั้งปี 2566 โดยเฉพาะภัยจากคลื่นความร้อนสุดขั้ว ที่ส่งผลให้ปี 2566 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึก อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สถิตินี้อาจมีอายุไม่ยืดนัก เพราะเราอาจจะต้องเจอกับปีที่ร้อนจัดยิ่งกว่าในปี 2567
ปี 2566 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากค่าพื้นฐานในช่วงปี 2359-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าปี 2559 และ 2563 ที่เคยทำสถิติสูงสุดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะแล้งที่ยาวนาน นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากยุคก่อนอุตสาหกรรมปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้ (1)
ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน
สังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงปี 2566 เรามักเห็นข่าวภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก นับตั้งแต่คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งหนักสุดในประวัติศาสตร์ ไฟป่าลามเผาทั้งเมืองวอดวาย หรือแม้กระทั่งพายุฝนถล่มเมืองกลางทะเลทรายจนเมืองจมน้ำ จนนับได้ว่าปี 2566 ถือเป็นปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ (1) ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาทบทวนถึงสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลกตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจความร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราทุกคนกำลังเผชิญ ปีแห่งความแห้งแล้ง ไฟป่า และคลื่นความร้อน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ อันโตนิโอ กุเตอเรส …
การประชุม COP28 หรือการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศโลกที่ผ่านพ้นไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ถูกบันทึกให้เป็น “ข้อตกลงประวัติศาสตร์” หลังจากประเทศสมาชิกเห็นชอบ “เปลี่ยนผ่าน” พลังงานฟอสซิลได้สำเร็จ