จีนบุกจับผู้จัดแข่งขันกินเกี๊ยว ฐานละเมิดกฎหมาย ‘กินทิ้งขว้าง’

ทางการจีนบุกจับเจ้าของร้านอาหารเหตุละเมิดกฎหมายกินอาหารทิ้งขว้าง หลังพบประกาศเชิญชวนแข่งกินเกี๊ยว 108  ชิ้น

ทางการท้องถิ่นเมืองอี๋ปิน มณฑลเสฉวน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าบุกจับเจ้าของร้านแห่งหนึ่ง เหตุละเมิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องเศษอาหารหลังพบประกาศเชิญชวนลูกค้าแข่งกินเกี๊ยว 108  ชิ้น ผู้เข้าแข่งขันคนใดกินได้เร็วที่สุดจะได้ทานอหารฟรีที่ร้าน

กฎหมายว่าด้วยเรื่องเศษอาหารของจีนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2564 วัตถุประสงค์คือลดการลดปริมาณอาหารเนื่องจากการใช้และบริโภคอย่างไม่สมเหตุสมผล กฎหมายนี้มุ่งคุ้มครองความมั่นคงด้านอาหารของประเทศตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ต้องการให้ประชาชนตระหนักมากขึ้น และพุ่งเป้าหมายไปที่ร้านอาหารเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแหล่งขยะอาหารที่ใหญ่ที่สุดในจีน

ประการแรกคือ ห้ามมีของเหลือจากอาหารมากเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันทางร้านจัดอาหารฟุ่มเฟื่อนเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ในขณะเดียวกันทางร้านอาหารมีสิทธิ์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าในกรณีที่มีอาหารเหลือจากการรับประทานตามความเหมาะสมเป็นเพื่อป้องกันการสั่งอาหารเกินความจำเป็น ซึ่งทางร้านสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมได้เอง แต่ต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็นอย่างชัดเจน

ประการที่สอง ผู้ให้บริการจัดเลี้ยงต้องสร้างความตระหนักรู้ให้ลูกค้าเข้าใจถึงการบริโภคอย่างคุ้มค่าและพอดี หากพบว่าร้านอาหารใดมีพฤติกรรมชักจูงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการบริโภค มีโทษปรับสูงสุด 10,000 หยวน หรือประมาณ 48,000 บาท และร้านอาหารใดทิ้งอาหารปริมาณมากอย่างต่อเนื่องมีโทษปรับสูงสุด 50,000  หยวน หรือประมาณ 240,000 บาท

ประการที่สาม ห้ามวิดีโอถ่ายทอดสด หรือไลฟ์สดรับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารแบบแข่งขัน หากพบว่าสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนผู้ให้บริการภาพและเสียงออนไลน์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการ จัดทำ เผยแพร่ ส่งเสริมรายการหรือข้อความเสียงเกี่ยวกับการกินมากเกินไป การกินและดื่มมากเกินไป มีโทษถูกปรับสูงสุด 100,000 หยวน หรือประมาณ 484,000 บาท และอาจถูกบังคับให้ปิดตัวลงหากพบว่าการละเมิดนั้นร้ายแรง

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนบางส่วนวิพากษ์วิจารณ์ทางการว่าทำเกินเหตุ ตั้งคำถามกลับว่าอาหารจากการแข่งนับเป็นของเสียหรือไม่ หากการแข่งขันกระตุ้นให้ผู้ชมต้องการบริโภคมากขึ้น

ผู้ใช้รายอื่นชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความปลอดภัยของอาหารที่ย่ำแย่ของประเทศ จากการพบสิ่งปนเปื้อนใรนมผงเด็กปนเปื้อน ไปจนถึงการสกัดน้ำมันจากท่อระบายน้ำ (Gutter-oil) ข้างถนนมาต้ม แช่ทิ้งไว้ในถังก่อนแยกส่วนที่เป็นน้ำมันที่เหลือมาจำหน่ายให้ร้านอาหาร

ที่มา

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่