ขยะอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้น กำลังกลายเป็นเรื่องหวาดผวา เมื่อเศษชิ้นส่วนจรวดตกสู่พื้นโลก

ระทึกไปตามๆ กันเมื่อ GISTDA โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ หรือ S-TREC แจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวด Longmarch-5B (ลองมาร์ช 5บี) ของจีนจะตกสู่พื้นโลกเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2565 และอาจกระทบไทย 1.2%

ในเวลาต่อมา GISTDA แจ้งว่า เศษชิ้นส่วนของจรวดลองมาร์ช 5 บี ได้เริ่มเผาไหม้ตั้งแต่อยู่เหนือน่านฟ้าของมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ และได้ตกในบริเวณทะเลซูลูของประเทศฟิลิปปินส์แล้ว (จุดสีเหลือง) เมื่อเวลา 23.53 น. ของวันที่ 30 ก.ค. 2565 โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินแต่อย่างใด

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากจรวดลองมาร์ช 5 บี ได้เสร็จสิ้นภารกิจการนำเวิ่นเทียน (Wentian) ซึ่งเป็นโมดูลที่ 2 เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนเหอ (Tianhe) เพื่อสนับสนุนให้นักบินอวกาศทำการทดลองวิจัยในอวกาศ ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. 2565 ซึ่ง GISTDA ได้ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนชิ้นส่วนของจรวดดังกล่าว จะตกสู่พื้นโลกในวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2565 

แม้ว่าชิ้นส่วนของ Longmarch-5B จะไม่สร้างความเสียหายให้กับมนุษยชาติ แต่มันทำให้คนทั่วโลกผวาพอสมควร ไม่เฉพาะแค่คนไทยเท่านั้น นอกจากจะหวาดผวาว่าใครจะเจอแจ็คพอตจาก Longmarch-5B ของจีนแล้ว ยังเกิดความกังวลเรื่องขยะอวกาศและชิ้นส่วนของยานอวกาศที่เป็นปัญหากับชาวโลกมากขึ้นทุกที

เศษขยะอวกาศ (Space debris) หรือที่เรียกว่าขยะอวกาศ มลพิษในอวกาศเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นในอวกาศที่หมดสภาพไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวงโคจรของโลก ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่ที่มีประโยชน์อีกต่อไป สิ่งเหล่านี้รวมถึงยานอวกาศที่ถูกทิ้งร้าง ยานอวกาศที่ไม่ทำงาน และขั้นตอนของยานปล่อยตัวที่ถูกทิ้งร้าง เศษซากที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ

เมื่อวันที่ ม.ค. 2021 เครือข่ายเฝ้าระวังอวกาศของสหรัฐรายงานวัตถุประดิษฐ์ 21,901 ชิ้นในวงโคจรเหนือโลก รวมถึงดาวเทียมปฏิบัติการ 4,450 ดวง อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงวัตถุที่ใหญ่พอที่จะติดตามได้ แต่ ณ เดือน ม.ค. 2019 เศษซากมากกว่า 128 ล้านชิ้นที่เล็กกว่า 1 ซม. เศษซากประมาณ 900,000 ชิ้นขนาด 1-10 ซม. และประมาณ 34,000 ชิ้นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ซม. อยู่ในวงโคจรรอบโลก

เศษเหล่านี้ไม่ได้ตกลงมาบนโลก แต่จะลอยเคว้งคว้างกลางอวกาศใกล้กับชั้นบรรยากาศโลก แต่ในระยะหลังจีนสร้างขยะอวกาศที่สร้างความหวาดเสียวบ่อยครั้ง นอกจากการปล่อยยานอวกาศที่จะปล่อยขยะลงมาเป็นระยะโดยกะเกณฑ์เป้าหมายที่จะโหม่งลงสู่พื้นโลกได้ลำบากแล้ว ยังมีเหตุการณ์ที่สร้างเศษซากขนาดใหญ่สองเหตุการณ์ล่าสุด คือการทดสอบอาวุธต่อต้านดาวเทียมของจีนในปี 2007 และการชนกันของดาวเทียมปี 2009 เกิดขึ้นที่ระดับความสูง 800 ถึง 900 กิโลเมตร

แม้ว่าเศษซากส่วนใหญ่จะเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ แต่วัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าก็สามารถเข้าถึงพื้นดินได้เหมือนเดิม จากข้อมูลของ NASA พบว่ามีเศษซากโดยเฉลี่ยหนึ่งชิ้นที่ตกลงมาสู่โลกในแต่ละวันในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีขนาดพอสมควร แต่ก็ไม่มีความเสียหายต่อทรัพย์สินที่สำคัญ แต่การเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศอาจทำให้เกิดมลภาวะในชั้นบรรยากาศได้เช่นกัน 

แต่ก็มีมนุษย์ได้รับผลกระทบจากพวกมันอยู่เหมือนกัน คือในปี 2002 เด็กชายอายุ 6 ขวบ ชื่อ อู๋เจี้ย (Wu Jie) กลายเป็นคนแรกที่ได้รับบาดเจ็บจากผลกระทบโดยตรงจากเศษซากอวกาศ เขาได้รับบาดเจ็บที่นิ้วเท้าร้าวและบวมที่หน้าผากหลังจากบล็อกอลูมิเนียมขนาด 80 ซม. 50 ซม. และหนัก 10 กิโลกรัมจากเปลือกนอกของดาวเทียม Resourcesat-2 ของอินเดีย ตกกระทบเขาขณะที่เขานั่งอยู่ใต้ต้นพลับในมณฑลส่านซี ประเทศจีน

ข้อมูลจาก

  • GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  • “Satellite Box Score” (PDF). Orbital Debris Quarterly News. Vol. 23, no. 4. NASA. November 2019. p. 10
  • “UCS Satellite Database”. Nuclear Weapons & Global Security. Union of Concerned Scientists. 16 December 2019. 
  • “Space debris by the numbers” Archived 6 March 2019 at the Wayback Machine ESA, January 2019. 
  • Maley, Paul. “SPACE DEBRIS: 1960-1980”. Retrieved 7 May 2021.

NASA image – NASA Orbital Debris Program Office, photo gallery

Related posts

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

อุณหภูมิทะลุ 3.1°C แผนลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 เป็นเรื่องเพ้อฝัน