ประเทศเสี่ยงจมน้ำ ยื่นศาลระหว่างประเทศขอคุ้มครองทะเลจากโลกร้อน

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา บรรดาผู้นำของประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ 9 แห่งถูกคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทางทะเลของสหประชาชาติเพื่อขอความคุ้มครองมหาสมุทรโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นหายนะการดำรงอยู่ของประเทศ

นายกรัฐมนตรีของประเทศตูวาลู แอนติกา และบาร์บูดา ร่วมให้การเป็นพยานต่อศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล (ITLOS) เมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี ในคดีความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นคดีแรกที่พิจารณาคดีที่ที่มุ่งเป้าไปที่การปกป้องมหาสมุทร

คดีนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการของรัฐเกาะเล็กๆ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎหมายระหว่างประเทศ (COSIS) บาฮามาส นีอูเอ ปาเลา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ และวานูอาตู

ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ประเทศสมาชิกซึ่งเป็นประเทศส่วนใหญ่ของโลกมีหน้าที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมถึงปกป้องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

‘มหาสมุทร’ ในฐานะแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้ดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ถึง 25% กักเก็บความร้อน 90% ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเหล่านั้น 90 นอกจากนี้ยังสร้างออกซิเจนถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของโลกอีกด้วย

มลภาวะที่มหาสมุทรดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากเกินไปทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่เป็นอันตราย เช่นการทำให้ทะเลเป็นกรด เกิดการฟอกขาวของปะการัง เป็นอันตรายต่อความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของมหาสมุทรและปกป้องชีวิตบนโลก

ในคดีนี้ศาลระหว่างประเทศ ITLOS จะพิจารณาว่า ก๊าซคาร์บอนที่ถูกดูดซับโดยมหาสมุทรถือว่าเป็นมลพิษทางทะเลหรือไม่ และมีพันธสัญญาใดบ้างที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศสมาชิกต้องปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากเกินไป

การพิจารณาคดีจะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่สามารถนำไปใช้อ้างอิงเป็นคำแถลงประกอบการออกกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาคหรือระดับโลก

ในขณะเดียวกัน หากศาลพิจารณาเห็นชอบตามที่ COSIS ยื่นร้อง ผลการพิจารณาจะถูกนำไปใช้ขยายพันธสัญญาภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มลพิษ CO2

“เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งเพิ่มจำนวนและความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปีที่ผ่านมา กำลังคร่าชีวิตผู้คนของเราและทำลายโครงสร้างพื้นฐานของเรา” นายกรัฐมนตรีคอสเซีย นาตาโน ของตูวาลูกล่าว

ตูวาลูและวานูอาตู เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีความเสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้น้ำภายในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่เริ่มเกิดขึ้นอย่างช้าๆ

“เรามาที่นี่เพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ด้วยความเชื่ออันแรงกล้าว่ากฎหมายระหว่างประเทศเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขความอยุติธรรมที่ประชาชนของเราต้องทนทุกข์ทรมานอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” นายกรัฐมนตรีของตูวาลูกล่าวเสริม

ที่มา

  • Sep 10, 2023. Small island nations take high-emitting countries to court to protect the ocean. The Guardian.
  • Sep 11, 2023. Sea-level rise could sink small islands like Tuvalu. Can they use ocean law to save themselves?.
  • Sep 11, 2023. Small Islands Take Ocean Protection Case to UN Court. VOANews

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย