ส่องกฎหมายแก้หมอกควันข้ามพรมแดนของสิงคโปร์

by IGreen Editor

ปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียก็ผ่านวิกฤตแบบที่เราเผชิญเช่นกัน

หมอกควันที่เกิดจากไฟป่าในเกาะสุมาตราและกาลิมันตันของอินโดนีเซียส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านมาช้านาน หนึ่งในการระบาดของหมอกควันที่เลวร้ายที่สุดในสิงคโปร์เกิดขึ้นในปี 2515 ทัศนวิสัยในการมองเห็นต่ำเพียง 1 ถึง 2 กม. เนื่องจากหมอกควันหนาทึบและคงอยู่นานตลอดสองสัปดาห์

วิกฤตหมอกควันในปี 2556 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์หมอกควันนับเป็นครั้งแรกที่ระดับ PSI แตะระดับอันตรายที่สุด โดยมีการอ่านค่า PSI สูงสุดอยู่ที่ 401 ทางการได้แนะนำประชาชนทั่วไปให้ลดกิจกรรมกลางแจ้งและสวมหน้ากาก N95 หากจำเป็นต้องทำกิจกรรม

ดัชนีมาตรฐานมลพิษอากาศ (PSI) ได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อวัดระดับมลพิษทางอากาศในแต่ละวัน โดยคำนวณจากการอ่านค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของระดับความเข้มข้นของสารก่อมลพิษทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO 2 ) ฝุ่นละออง (PM 10 ) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2 ) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และโอโซน (O3)

PSI จะแปลงความเข้มข้นออกมาเป็นตัวเลขในระดับ 0 ถึง 500 โดยจะแบ่งออกเป็นห้าประเภทหลัก คือ ดี (PSI 0–50), ปานกลาง (PSI 51–100), ไม่ดีต่อสุขภาพ (PSI 101–200), ไม่ดีต่อสุขภาพมาก (PSI 201–300) และเป็นอันตราย (PSI 300 ขึ้นไป)

เหตุการณ์ในปี 2536 ครั้งนั้นกระตุ้นให้รัฐบาลภายใต้การนำของรัฐบาลลี เซียนลุง ให้อินโดนีเซียจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอินโดนีเซียกล่าวหาสิงคโปร์ว่าทำตัวเหมือนเด็กและเตือนให้หลีกเลี่ยงเรื่องภายในประเทศของอินโดนีเซีย

สาเหตุความรุนแรงของหมอกควันในครั้งนี้เป็นผลมาจากการเผาพื้นที่ขนาดใหญ่ของบริษัทน้ำมันปาล์มในพื้นที่ป่าของอินโดนีเซีย ซึ่งทางการอินโดนีเซียอ้างว่าบริษัทเหล่านี้บางส่วนเป็นของนักลงทุนชาวสิงคโปร์และมาเลเซีย

เพื่อตอบสนองต่อข้อกล่าวอ้างดังกล่าว ในปี 2557 รัฐสภาของสิงคโปร์ได้ผ่านพระราชบัญญัติมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (Transboundary Haze Pollution Act) อนุญาตให้หน่วยงานกำกับดูแลดำเนินคดีกับบริษัทที่มีที่ตั้งหรือมีความเชื่อมโยงกับสิงคโปร์ หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเผาที่ผิดกฎหมาย จากนั้นให้สหพันธ์การผลิตของสิงคโปร์ (SMF) กระตุ้นให้สมาชิกคว่ำบาตรบริษัทที่เกี่ยวข้อง และให้สมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์ (CASE) ออกมาวิจารณ์การกระทำที่ไร้ซึ่งความรับผิดชอบของบริษัทดังกล่าว

สิงคโปร์ได้ใช้ ดาวเทียมความละเอียดสูงของ Global Forest Watch-Fires คือเครื่องมือที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้ตรวจสอบและบันทึกเหตุไฟไหม้แต่ละครั้งเพื่อเก็บรวบรวมเป็นหลักฐานการกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้น

แม้ว่ากฎหมายเพียงฉบับเดียวจะไม่สามารถระบุถึงสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ที่ฝังรากลึกได้ทั้งหมด แต่ก่อให้เกิดแนวโน้มเชิงบวก หลายบริษัท เช่น ปาล์มน้ำมัน ไม้ หรือเยื่อกระดาษต่างมีพันธสัญญาที่สำคัญกับผู้ผลิตเกี่ยวกับการเผาไฟและตัดไม้ทำลายป่า 

อ้างอิง

  • Aug 5, 2014. STATEMENT: Singapore’s New Haze Pollution Law “A New Way of Doing Business”. World Resources Institute
  • Jun 20, 2013. Singapore Haze. The Atlantic
  • Jun 21, 2013. Singapore chokes on haze as Sumatran forest fires rage. CNN
  • Haze pollution. eresources.nlb.gov.sg

Copyright @2021 – All Right Reserved.