‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ ตกหลุมอากาศเพราะ ‘ความร้อน’ เหนือมหาสมุทร

“สิงคโปร์แอร์ไลน์” ตกหลุมอากาศรุนแรงจนทำให้เครื่องบินดิ่งลงจากระดับความสูง 54 เมตร ในเวลา 4 วินาที หรือเทียบเท่าตึกสูง 18 ชั้น มีสาเหตุกมาจาก “ความร้อน” ที่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นเหนือมแอ่งอิระวดีของเมียนมา

การสอบสวนของสำนักงานสืบสวนความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสิงคโปร์ (TSIB) พบความจริงเบื้องต้นว่า ก่อนที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศรุนแรง (turbulence) เที่ยวบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์กำลังบินผ่านพื้นที่ซึ่งมีการลอยตัวขึ้นของอากาศ เนื่องจาก “ความร้อน” บริเวณเหนือแอ่งอิรวดีของประเทศเมียนมาซึ่งขณะนั้นเครื่องบินอยู่ในระดับความสูง 37,000 ฟุต หรือ 11,300 เมตร

TSIB ดึงข้อมูลจากเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (FDR) และเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (CVR) ของเที่ยวบิน SQ321 ที่ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ชาวอังกฤษเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีกร่วม 100 คน หลังจากเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER บินออกท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว์ ลอนดอนมุ่งหน้าสู่สิงคโปร์ แต่ต้องลงจอดฉุกเฉินที่กรุงเทพฯ โดยมีผู้โดยสาร 211 คน และลูกเรือ 18 คนบนเครื่อง

ผลการสอบสวน พบว่า หลังเครื่องบินดิ่งลงจากระดับความสูง จากนั้นแรงโน้มถ่วงหรือ แรง G เกิดการผันผวน ทำให้เครื่องบินเริ่มสั่นสะเทือน ต่อมาแรง G มีการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันจาก 1.35G ไป -1.5G ภายในเวลา 0.6 วินาที

ส่งผลให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยลอยขึ้นจากที่นั่ง และเมื่อแรง G เปลี่ยนจาก -1.5G เป็น +-1.5G ภายในเวลา 4 วินาที กล่าวคือ ทำให้เครื่องบินลดระดับความสูงลง 178 ฟุต ทำให้ผู้โดยสารที่ตัวลอยอยู่กลางอากาศ ร่วงตกลงมากระแทกพื้นทันที

ระดับความสูง 178 ฟุต เหรือ 54.254 เมตร หากเทียบตึกที่มีความสูงชั้นละ 3 เมตร ก็เท่ากับเครื่องบินลดระดับอย่างรวดเร็วในเวลา 4 วินาที เท่าสูงเท่าตึก 18 ชั้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 26 พ.ค. ครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์ของสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ส ซึ่งเดินทางจากกรุงโดฮาไปยังไอร์แลนด์ก็ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศ อีก ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือบาดเจ็บรวม 12 คน โดยกัปตันสามารถนำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ฟันธงว่า ความปั่นป่วนของสภาพอากาศเลวร้ายบนท้องฟ้าที่ทำให้สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ “ตกหลุมอากาศ” อย่างรุนแรงไม่ได้มาจากสภาพอากาศแปรปรวนธรรมดา แต่เป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change โดยผลการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาท้องฟ้ามีความสั่นสะเทือนมากขึ้นถึง 55% เมื่อเทียบกับ 4 ทศวรรษก่อน เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น

ข้อมูลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดความปั่นป่วนของสายการบินรุนแรงมากขึ้นในอนาคต และ “การตกหลุมอากาศ” อาจจะกลายเป็นเรื่องปกติ แต่จะไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับผู้ใช้บริการ แต่จะเกิด “ความน่ากลัว” ในความไม่ปลอดภัยสำหรับการเดินทางด้วยสายสายการบินอีกต่อไปหรือไม่?

ดร.พอล วิลเลียมส์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง สหราชอาณาจักร ระบุว่า ความปั่นป่วนของอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างเที่ยวบินอาจเกิดจากพายุ ภูเขา และกระแสลมแรง ซึ่งในกรณีตกหลุมอากาศของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียกว่า ความปั่นป่วนในอากาศเเจ่มใส (Clear Air Turbulence) หรือ CAT โดยปรากฎการณ์นี้ไม่ปรากฏบนเรดาร์ ทำให้นักบินมองไม่เห็น และไม่สามารถตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางได้ทันท่วงที

อากาศที่อุ่นขึ้นหรือร้อนขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสลมเจ็ตสตรีม หรือกระเเสลมกรด ทำให้ปรากฏการณ์ความปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส หรือ CAT รุนแรงขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและทั่วโลก

เหนือมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เป็นหนึ่งในเส้นทางบินที่พลุกพล่านมากที่สุดในโลก ระยะเวลารวมของความสั่นสะเทือนรุนแรงต่อปีเพิ่มขึ้น 55% ระหว่างปี 1979-2020 ตามที่นักวิทยาศาสตร์พบ นอกจากนี้ยังพบว่า ความสั่นสะเทือนในอากาศแจ่มใสรุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 17.7 ชั่วโมง ในปี 1979 เป็น 27.4 ชั่วโมงในปี 2020 (รวมจำนวนระยะเวลาที่เกิดสภาพอากาศปั่นป่วน)

“ความปั่นป่วนของสภาพอากาศได้เพิ่มความรุนแรง ความถี่ และระยะเวลาในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้เราได้ค้นพบว่าความปั่นป่วนในอากาศบริสุทธิ์ที่รุนแรงในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือได้เพิ่มขึ้น 55% ตั้งแต่ปี 1979

“มีการคาดการณ์ว่า ความปั่นป่วนของอากาศจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า หากสภาพอากาศยังคงร้อนขึ้น” วิลเลียมส์ ผู้เขียนรายงานกล่าวระบุ และว่า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการบินจะปลอดภัยน้อยลง “เครื่องบินจะไม่เริ่มตกลงมาจากท้องฟ้า เพราะว่าเครื่องบินถูกสร้างขึ้นให้มีความปลอดภัยสูงมาก และมันสามารถทนต่อความปั่นป่วนที่เลวร้ายที่สุดที่จะเผชิญได้ แม้กระทั่งในอนาคต” วิลเลียมส์กล่าว

ดังนั้น ใครที่ต้องเดินทางโดยสารเครื่องบินจะต้อง “รัดเข็มขัดที่นั่ง” ทุกครั้งและตลอดเวลา แม้จะไม่มีสัญญาณบอกให้รัดเข็มขัดก็ตาม เพราะบางครั้งนักบินก็ไม่สามารถตรวจพบหลุมอากาศจากจอเรดาร์ได้ล่วงหน้า

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่