OPINION: กำแพงกันคลื่นของญี่ปุ่น ไม่ช่วยป้องกันคลื่นถล่มชายหาดได้

เพราะโลกที่ร้อนขึ้นจึงทำให้น้ำทะเลที่สูงขึ้นและชายฝั่งถูกทำลายมากขึ้น บางพื้นที่จึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการสร้างเขื่อนป้องกันชายฝั่ง หรือที่เรียกว่า Breakwater (แนวสกัดคลื่น) หรือ Revetment (พนัง) หรือ Seawall (กำแพงชายฝั่ง)

การป้องกันชายฝั่งมีความจำเป็นมากในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นมีข้อมูลว่าอย่างน้อย 43% ของชายฝั่งทะเลของญี่ปุ่นความยาว 29,751 กม. เรียงรายไปด้วยกำแพงคอนกรีตหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องชายฝั่งจากคลื่นสูง พายุไต้ฝุ่น หรือสึนามิ

มีวิธีมากมายที่จะสร้างแน้วป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ไม่ใช่ทุกวิธีที่จะได้ผลและบางวิธีทำลายความสวยงามของชายฝั่งอย่างเลวร้าย ตัวอย่างความล้มเหลวคือ การสร้างกำแพงชายฝั่งป้องกันเมืองคามาอิชิสูง 4 เมตร ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกสร้างเสร็จเมื่อปี 2552 ค่าใช้จ่าย 1,500 ล้านดอลลาร์

กำแพงนี้ปิดกั้นเมืองออกจากชายฝั่งโดยสิ้นเชิงทำให้ชุมชนริมทะเลมองไม่เห็นวิวทะเลไปบางส่วน แต่อีก 2 ปีต่อมาเกิดสึนามิและแผ่นดินไหวโทโฮกุ กำแพงชายฝั่งที่สูงใหญ่และยังแพงที่สุดในโลกก็ป้องกันสึนามิไม่ได้ และในที่สุดใจกลางเมืองก็จมอยู่ใต้น้ำ

แต่ญี่ปุ่นยังไม่เข็ด หลังสึนามิผ่านพ้นไปแล้วยังมีการเสนอสร้างกำแพงชายฝั่งคามาอิชิขึ้นมาอีกด้วยงบประมาณกว่า 650 ล้านดอลลาร์ แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเสียเงินเปล่า เพราะเป็นการนำเงินมหาศาลไปปกป้องพื้นที่ที่มีประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว “ด้วยเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว”

หลังจากสึนามิในครั้งนั้นหลายพื้นที่ของญี่ปุ่นมีการถกเถียงอย่างดุเดือดถึงประสิทธิภาพของกำแพงชายฝั่ง นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันคลื่นแล้วยังตัดวิถีชุมชนออกจากชายทะเล ทำให้ชายหาดไม่เสถียร กระทบต่อวิถีชีวิตของสัตว์ ยังไม่นับว่าเป็นภูมิทัศน์อุจาดตา และความสูญเปล่าอย่างยิ่ง

ในประเทศไทยมีบางพื้นที่เลือกจะสร้างแนวกั้นทะเลด้วยการสร้าง Revetment เป็นแนวยาวด้วยซีเมนต์ แต่ปรากฎว่าถูกคลื่นทำลายลงอีกและยังมีเป็นความอัปลักษณ์ทางสายตา

สถานการณ์โลกร้อนจะเลวร้ายกว่านี้และระดับน้ำทะเลจะสูงกกว่านี้อีก การสร้างแนวกั้นทะเลอาจจะล้มเหลวกลายเป็นเศษปูนในอีกไม่กี่ปี มันจะมีวิธีอื่นไหมที่ดีกว่านี้ เสียเงินน้อยกว่านี้ และสูญเปล่าน้อยกว่านี้?

แม้แต่ที่ญี่ปุ่น ประชาชนซึ่งรอดชีวิตจากสึมามิที่โทโฮกุก็ยังพูดว่าพวกเขาไม่อยากเห็นแท่งปูนเป็นทัศนะอันน่าเกลียดบดบังพวกเขาจากชายฝั่งที่เป็นธรรมชาติ และตั้งคำถามว่าทำไมรัฐบาลไม่ลงทุนให้น้อยกว่านี้ด้วยการอพยพชุมุชนไปที่สูงกว่าอีกนิดหรือซักซ้อมการหนีภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน