สิงโตทะเลตายและป่วยหนัก หลังสาหร่ายสะพรั่งน่านน้ำแคลิฟอร์เนีย

ปรากฎการณ์สาหร่ายสพรั่งในน่านน้ำตอนใต้ของแคลิฟอร์เนียกำลังคร่าชีวิตสิงโตทะเล ราวกับว่าพวกมันกำลังโดนวางยา

ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชายหาดลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเกลื่อนไปด้วยโลมาและสิงโตทะเลหลายร้อยตัวที่เกยตื้นป่วยและตาย เจ้าหน้าที่ได้นำเนื้อเยื่อของสัตว์เหล่านั้นไปตรวจสอบ ยืนยันได้ว่าสาเหตุมาจากกรดโดโมอิก ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่มากจากปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Algore Bloom)

ปัจจัยหนุนปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง คืออุณหภูมิของน้ำ ปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลัก

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความถี่ของการเกิดสาหร่ายสะพรั่งมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน เพราะนอกจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นก็ก่อให้เกิดพายุฝนบ่อย ทำให้น้ำที่หลากจากผืนดินนำพาไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มาจากน้ำเสียและปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตรลงสู่ทะเล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปรากฎการณ์นี้จะทวีความรุนแรงขึ้นจากเอลนีโญ

ในห่วงโซ่อาหารโดยปกติปลาขนาดเล็กและหอยจะกินสาหร่ายเป็นอาหาร แต่พวกมันไม่ได้รับผลกระทบจากสาหร่ายพิษ แต่เมื่อผู้ล่าอย่างสิงโตทะเลและโลมากินพวกมันอีกที สารพิษที่สะสมอยู่ในเหยื่อของพวกมันจะส่งผลกระทบทันที ยิ่งกินเหยื่อเยอะปริมาณสารพิษก็จะสูงขึ้นตาม

ศูนย์ดูแลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ระบุว่า สิงโตทะเลที่ได้ได้รัยบพิษจากกรดโดโมอิกจะแสดงพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้และอาจก้าวร้าวหรือเฉื่อยชาหรือไม่ตอบสนองใดๆ เนื่องจากพิษดังกล่าวส่งผลกระทบตรงต่อระบบประสาทและสมอง ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

NBC รายงานว่าขณะนี้ สถานพยาบาลของศูนย์ดูแลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล ในลอสแอนเจลิส รับสิงโตทะเลป่วยเต็มจำนวนแล้วที่ 70 ตัว ขณะที่ยังเหลือสิงโตทะเลป่วยอีกราว 70 ตัวตามชายฝั่งที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ กรมชายหาดและท่าเรือจึงร่วมกับทางศูนย์จึงได้จัดตั้งสถานที่ดูแลชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือกรณีสิงโตทะเลป่วยพุ่งสูงขึ้น

เคราะห์ร้ายจากปรากฎการณ์สหร่ายสะพรั่งไม่ได้จำกัดเฉพาะในลอสแอนเจลิส หรือสิงโตทะเลเท่านั้น ทางตอนเหนือของเทศมณฑลซานตาบาร์บาราและเวนทูรา มีรายงานพบสิงโตทะเลเกยตื้นตายมากกว่า 100 ตัว โลมาเกยตื้นตาย 100 ตัว ในขณะที่สิงโตทะเลป่วยรอรับการรักษาอีก 300 ตัว ทั้งหมดล้วนมีอาการพิษจากพิษกรดโดโมอิกทั้งสิ้น

Kelsey Herrick สัตวแพทย์จาก SeaWorld San Diego กล่าวว่าสามารถรักษาสิงโตทะเลที่ป่วยได้หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นพิษจากกรด domoic ตั้งแต่เนิ่นๆ

เคลซี่ เฮอร์ริค สัตวแพทย์จาก SeaWorld San Diego ให้ข้อมูลกับ NBC ระบุว่า พฤติกรรมแปลกๆของสิงโตทะเลที่เดินออกจากชายหาดลัดเลาะลำธารในเมืองจนไปโผล่อยู่บนทางด่วนตามที่สื่อรายงานข่าวไปในเดือนเมษายนนั้น อาจอธิบายได้ด้วยพิษของกรดโดโมอิก

เคลซี่กล่าวเพิ่มว่าสิงโตทะเลที่ได้รับพิษจากกรดโมอิกสามารถรักษาหายได้หากได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ แต่เป็นที่น่าเสียใจท่าสิงโตทะเลบนทางด้วนนั้นไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำการ การุณยฆาต

กระทรวงสาธารณสุขแคลิฟอร์เนียได้ออกคำแนะนำด้านสุขภาพต่อประชาชน ใหงดบริโภคหอยแมลงภู่ หอยกาบ หรือหอยเชลล์จากซานตาบาร์บารา เนื่องจากกรดเดโมอิกในระดับที่เป็นอันตราย

ในมนุษย์ อาการพิษจากกรดเดโมอิกหรือที่เรียกว่าพิษจากหอยความจำเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาตั้งแต่ 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อน

กรณีพิษที่ไม่รุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการอาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจหายใจลำบาก สับสน สับสน หลอดเลือดหัวใจไม่มั่นคง ชัก โคม่า และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ที่มา

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด