รู้หรือไม่ ‘ถุงผ้า’ ใช้ซ้ำแค่ไหนถึงจะพอ

ถุงผ้าอาจกำลังสร้างปัญหาใหม่ให้สิ่งแวดล้อม จากการรณรงค์แบนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง หรือแบบครั้งเดียวใช้แล้วทิ้งไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

จากการศึกษาเส้นทางของถุงผ้าพบว่าการผลิตถุงผ้ามีคาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงกว่าถุงพลาสติกแบบบาง และควรนำถุงผ้านั้นมาใช้อย่างน้อย 7,100 ครั้ง เพื่อตอบโจทย์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

รายงานของหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเดนมาร์กในปี 2018 แนะนำว่าควรใช้ถุงผ้าฝ้ายอย่างน้อย 7,100 ครั้งเพื่อชดเชยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับถุงพลาสติกแบบบางทั่วไปในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่หากถุงผ้าทำจากฝ้ายออร์แกนิค จำนวนการนำมาใช้ซ้ำต้องเป็น 20,000 ครั้ง ถึงจะชดเชยผลกระทบได้

นอกจากถุงผ้าฝ้ายแล้ว ถุงชอปปิงพลาสติกแบบหนาที่วางขายบริเวณจุดชำระเงินทั่วไปในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็เป็นอีกประเด็นที่น่ากังวล

หลังจากใกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกและกระดาษแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ผู้ค้าก็นำถุงบรรจุแบบหนาเกรด HEAVY DUTY คล้ายถุงใส่ข้าวสารมาใช้บรรจุของชำแบบเดลิเวอรีให้ลูกค้า ซึ่งในปีที่ผ่านมาลูกค้าต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าได้ถุงใช้ซ้ำประเภทดังกล่าวเป็นจำนวนมากและไม่รู้ว่าจะนำไปใช้อะไรต่อ

ในขณะที่สหราชอาณาจักรพบว่าคนซื้อถุงผ้าหรือถุงชอปปิงพลาสติกแบบหนาแบบใช้ซ้ำได้ลดลงจากปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการเรียกเก็บค่าถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวใช้แล้วทิ้ง กรีนพีซได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในปี 2562 ซูเปอร์มาร์เก็ตในสหราชอาณาจักรขายถุงชอปปิงพลาสติกแบบหนาที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือที่เรียกว่า ‘ถุงเพื่อชีวิต’ ที่ 1.58 พันล้านใบ เทียบเท่ากับ 57 ใบต่อครัวเรือน และมากกว่า 1 ถุงต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับปี 2561

หรือบางกรณีที่ลืมถุงชอปปิงแล้วซื้อใบใหม่ด้วยความคิดว่าอย่างน้อยก็ดีกว่าซื้อถุงพลาสติกแบบบาง แต่หากลืมมากกว่า 1 ครั้ง นั่นเท่ากับกลายเป็นคนสะสมถุงชอปปิงพลาสติกโดยไม่รู้ตัว

จากกรณีข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการเสนอถุงพลาสติกแบบหนาเพื่อสนับสนุนให้นำมาใช้ซ้ำนั้นใช้ไม่ได้ผล

เมื่อพูดถึงการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของถุงผ้าใช้ซ้ำหรือถุงชอปปิงพลาสติกแบบหนาตลอดอายุการใช้งาน มีหลายสิ่งที่ต้องคำนึง เช่น วัสดุ น้ำหนัก กระบวนการผลิต และวิธีการกำจัด

ถุงชอปปิงพลาสติกแบบหนาที่สามารถใส่ของหนักทำจากวัสดุชนิดเดียวกับถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพียงแต่แต่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสองเท่า และนั่นก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสองเท่าเว้นแต่จะนำกลับมาใช้ใหม่หลายครั้ง

ตามรายงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่าในปี 2563 มีการใช้ถุงโพลีโพรพิลีน (PP) ที่มีความหนาและทนทานคล้ายถุงใส่ข้าวสาร ประมาณ 10 ถึง 20 ครั้ง แต่มีการนำถุงพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE) ซึ่งบางกว่ามาใช้ซ้ำ 5-10 ครั้ง

Tomas Ekvall หนึ่งในผู้เขียนรายงานของ UNEP และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่ง Chalmers University of Technology ในสวีเดน กล่าวว่า หากเรามุ่งมั่นสู่อนาคตที่ยั่งยืนโดยมีความคิดแบบซื้อถุงชอปปิงพลาสติก หรือถุงผ้าใช้ครั้งเดียวแล้วไม่นำกลับมาใช้ซ้ำ วิถีเช่นนั้นก็ไม่สอดคล้อง

แต่หากเรามุ่งมันสู่อนาคตที่ยั่งยืนคำตอบสำหรับสิ่งทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ดีสุดสำหรับถุงผ้าหรือถุงชอปปิงพลาสติกคือการใช้ซ้ำให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และทิ้งอย่างระมัดระวัง หรือบริจาคให้กับจุดรับต่างๆ เช่นโรงพยาบาล หรือโรงเรียน เพื่อให้คุ้มค่ากับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เสียไปและเพื่อไม่ให้กลายเป็นมลพิษในอนาคต

อ้างอิง

  • Feb Life Cycle Assessment of grocery carrier bags. Ministry of Environment and Food of Denmark.
  • Single-use plastic bags and their alternatives. UNEP
  • Jan Checking Out on Plastics III. Greenpeace
  • Sep 13, N.J. weighs bringing back paper bags as unwanted reusable bags pile up. NJ.com
  • Mar 13, Here’s how many times you need to reuse your reusable grocery bags. CNN

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย