เปลี่ยน CO2 ลมหายใจมนุษย์ให้เป็นปุ๋ยแปลงผักบนดาดฟ้า

***EMBARGOED UNTIL 05.00 BST, MON OCT 24 (00.00 ET)*** New carbon dioxide ventilators could turn fumes into fertiliser to bring vegetable patches to high rise rooftops, suggests a new study. See SWNS story SWSCrooftop. Spinach by the new air vents grew four times larger than the other plants, in a promising development for healthier city life. Boston University scientists created new technology that turned carbon dioxide (CO2) pumped from building air vents into fertiliser to improve the challenging plant-growing conditions for rooftop plantlife. Though rooftop farms and gardens are an increasingly popular way of tackling poor air quality and lacking food resources in cities they are hard places for plants to grow.

นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบอสตันทำการสร้างอุปกรณ์ทดลองปลูกพืชบนดาดฟ้าตรงช่องระบายอากาศ พบพืชที่ทดลองเติบโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่นถึง 4 เท่า

ภายใต้ชื่อการทดลอง BIG GRO ดร.ซาราเบธ บัคเลย์และทีมทดลองมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา ได้นำแนวคิดดาดฟ้าสีเขียวที่ช่วยลดผลกระทบจากปรากฏการณ์ความร้อนในเมือง และการผลิตอาหารในเมืองเพื่อลดการพึ่งพาระบบเกษตรกรรมที่ปล่อยคาร์บอนเข้มข้น

โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาทดลองกับ CO2 ที่เกิดจากการหายใจของมนุษย์ภายในอาคาร แล้วถูกปล่อยออกมาเป็นเสียผ่านช่องระบายอากาศบนดาดฟ้าให้กลับมาใช้ใหม่ให้เป็นปุ๋ย

พืชที่ทดลองปลูกนั้นคือข้าวโพดและผักโขมเพราะเป็นพืชที่กินได้ทั่วไป และมีความไวต่อระดับ CO2 ในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าพืชชนิดอื่น จากนั้นจึงวางพืชทดลองใกล้ช่องระบายอากาศ 2 ช่อง ที่ดูด CO2 ออกมาจาก 20 ห้องเรียน และวางพืชชนิดเดียวกันใกล้กับพัดลมทั่วไปที่อยู่ภายใต้ระบบควบคุมของการทดลอง

มีการวัดระดับ CO2 ใน 20 ห้องเรียนด้านล่างเป็นประจำเพื่อให้ทราบปริมาณ CO2 ช่องระบายอากาศบนชั้นดาดฟ้า จากการทดลองพบว่าระดับ CO2 ในห้องเรียนเฉลี่ยสูงกว่า 1,000 ppm ซึ่งมากพอที่จะเพิ่มการเจริญเติบโตของพืชจากระดับค่าเฉลี่ยที่พืชควรได้รับที่ 800ppm

จึงส่งผลให้พืชทดลองที่ปลูกตรงช่องระบายอากาศนั้นเติบโตกว่าพืชที่ปลูกตรงพัดลมควบคุมที่ใช้อากาศในชั้นบรรยากาศทั่วไป ถึง 4 เท่า

การค้นพบนี้เป็นการพัฒนาที่มีแนวโน้มที่ดีสำหรับชีวิตคนเมือง แต่ยังมีอีกหลายแง่มุมของระบบที่ต้องปรับพิจารณาก่อนนำไปใช้จริง

“แปลงผักเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์มากมายต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การประหยัดพลังงานสำหรับอาคาร การลดปริมาณคาร์บอนฯ การบรรเทาการสภาพอากาศ การลดความร้อนในเมือง การผลิตอาหารในท้องถิ่น โอกาสในการสร้างชุมชน และประโยชน์ด้านสุนทรียภาพและสุขภาพจิต” ดร.บัคเลย์ กล่าว

อ้างอิง :

  • Oct 24,2022, Sarabeth Buckleys and Team, “Enhancing crop growth in rooftop farms by repurposing CO2 from human respiration inside buildings.” Frontiers Media
  • Oct 27,2022, “New Rooftop CO2 Ventilators Funnel Fumes into Fertilizer that Makes Spinach Grow 4x Bigger in Roof Gardens.” Good News Network

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย