ไนจีเรียนำร่อง ‘RecyclePay’ แก้ปัญหาการศึกษาและขยะล้นเมือง

แม้ว่าการศึกษาจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แต่เด็กจำนวนมากในประเทศไนจีเรียโดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ โครงการขยะเพื่อการศึกษา RecyclesPay จึงเกิดขึ้น เพียงผู้ปกครองนำขวดและกระป๋องพลาสติกมาให้โรงเรียนเพื่อแลกเป็นค่าเล่าเรียน

ในแต่ละปี ลากอส เมืองหลวงของประเทศไนจีเรียจะมีขยะพลาสติกประมาณ 870,000 ตัน ด้วยระบบรีไซเคิลและการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้ขยะจำนวนมากจึงลงเอยใน หลุมฝังกลบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ถนน และชายหาด ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ 

ขณะเดียวกันเด็กและเยาวชนชาวไนจีเรียประมาณ 20.2 ล้านคนไม่สามารถเข้าในโรงเรียนได้ แม้ว่าการศึกษาระดับประถมศึกษาจะฟรีและเป็นภาคบังคับในประเทศก็ตาม 

African Clean Up Initiative ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมได้จัดการกับความท้าทายทั้งสองประการผ่านโครงการนวัตกรรมที่ชื่อว่า Recycles Pay ด้วยการให้ผู้ปกครองเก็บรวบรวมขยะ แล้วส่งมอบให้กับโรงเรียน เพื่อนำมาใช้เป็นค่าเล่าเรียนของบุตรหลานได้ 

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงผู้ปกครองและเด็กนักเรียน จะได้รับการฝึกอบรมการรีไซเคิลและความจำเป็นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม 

ทางโครงการจะมอบถุงขนาดใหญ่ให้กับทางโรงเรียนไว้รองรับขยะที่รักเรียนและผู้ปกครองเก็บได้ โดยทางโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจดบันทึกและนำไปส่งยังบริษัทรีไซเคิลที่ทางโครงการกำหนดไว้ จากนั้นเงินจะถูกจ่ายโดยตรงไปยังบัญชีธนาคารของโรงเรียน

โครงการ Recycles Pay ได้สร้างความยืดหยุ่นให้กับผู้ปกครองในการชำระ โดยสามารถทำข้อตกลงกับทางโรงเรียนได้ว่าขยะรีไซเคิลที่เก็บได้จะใช้เพื่อชำระค่าธรรมเนียมของนักเรียนทั้งหมดหรือบางส่วน เช่นอาจตกลงว่าครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมจะชำระเป็นเงินสดและส่วนที่เหลือจะกับขยะส่งโรงเรียน 

โครงการ RecyclesPayEducational เป็นโครงการ Plastic-For-tuition โดยมีเป้าหมายในการจ่ายค่าเล่าเรียนให้กับนักเรียนที่มีภาวะเปราะบางกว่า 10,000 คนภายในปี 2030 ซึ่งโครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2018

ในระยะเวลา 2 ปีแรกพบว่าโครงการดังกล่าวสามารถช่วยให้เด็กนักเรียน 2,172 คน สามารถเข้าระบบการศึกษาได้ ขณะที่มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 แห่ง และเก็บรวบรวมขวดและกระป๋องได้ 1,123,488 ชิ้นคิดเป็นขยะรีไซเคิล 38,741 กิโลกรัม

ที่มา

  • Aug 14, 2023. Nigeria: Using plastic waste for school fees. DW
  • Jun 11, 2023. How Nigerian women are leading national action against plastic pollution. WorldEconomicForum
  • Oct 4, 2022. WHEN SCHOOL FEES ARE PAID WITH PLASTIC WASTE. Fariplanet

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน