หลังการเลือกตั้งจบลง ‘รีไซเคิล’ คือทางออกดีที่สุด ให้ประชาชนเก็บป้ายไปใช้ซ้ำ

หลังการเลือกตั้งสิ่งที่หลงเหลืออยู่มากมายมหาศาลคือป้ายหาเสียงรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่ย่อยสลายได้ (แต่หลายปี) เช่น ไม้ และที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ผ้าใบไปจนถึงพลาสติกลูกฟูก บางป้ายอาจค้างอยู่ในบางพื้นที่นานหลายปีด้วยซ้ำ เพราะมันเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้

แล้วที่บ้านเมืองอื่น ๆ เขาทำกันยังไง?  ที่สหรัฐอเมริกามีการประเมินว่า 90% ของป้ายรณรงค์ทำจากพลาสติกลูกฟูก ซึ่งมีปัญหามากในการกำจัดมันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถ้าเอาไปทิ้งมันจะย่อยสลายนานสุด ๆ แถมยังปล่อยสารพิษออกมาด้วย และถ้าเอาไปเผามันจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา

ในสหรัฐอเมริกาแก้ปัญหานี้ยังไง? มีคำแนะนำให้พรรคการเมืองนำกลับไปใช้ใหม่ โดยทาสีทับหรือปิดกระดาษาทับป้ายเดิม นี่คือวิธีที่ดีที่สุด การรีไซเคิลแบบแปรรูปนั้นแทบทำไม่ได้ เพราะป้ายที่ทำจากพลาสติกลูกฟูกมีส่วนผสมหลายอย่างจนยากเกินไปที่จะแยกส่วนผสมเหล่านั้นออกมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่

อีกวิธีหนึ่งคือนำป้ายไปบริจาคให้กับโครงการที่แปรรูปป้ายเหล่านี้เป็นของใช้อื่น (รีไซเคิลโดยไม่ต้องสลายวัสดุเดิม)  เช่น เอาไปทำโคมไฟ หรือของใช้อื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรเอกชนที่รับของเหลือใช้เหล่านี้ไปทำประโยชน์โดยเฉพาะ และเมืองไทยของเราน่าจะริเริ่มรับป้ายหาเสียงไปรีไซเคิลแบบจริง ๆ อย่างนี้บ้าง

ที่ออสเตรเลียที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งทั่วไปไล่เลี่ยกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ มีการพูดถึงกันว่าจะทำยังไงกับป้ายหาเสียงเหมือนกัน และป้ายส่วนใหญ่ก็ทำจากพลาสติกลูกฟูกด้วย มีคนออสซี่มาแบ่งปันวิธีการการทำป้ายเหล่านี้มาใช้ ซึ่งคล้าย ๆ กับที่คนไทยทำกันคือเอาไปใช้ต่อกันตรง ๆ เลย

เช่น เอาไปทำฝากันลมพายุโดยปิดไว้ที่ประตูหน้าต่าง บางคนเอาไปใช้เป็นที่เช็ดเท้าหน้าประตูบ้าน (ซึ่งคนไทยอาจจะถือเพราะเหมือนเป็นการดูหมิ่นเจ้าของภาพ แต่ในประเทศอื่นเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา) บางคนเอามันไปตัดเป็นชิ้น ๆ เพื่อทำจิ๊กซอว์เล่นเลยด้วยซ้ำ 

ผู้สมัครบางคนที่ออสเตรเลียก็เอามันกลับมาใช้อีกครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้านักการเมืองคนนั้นได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน แถมยังใช้รูปเดิม ๆ ด้วยซ้ำจนคนสังเกตว่าหน้าตาไม่เคยเปลี่ยนเลยแม้จะผ่านไปหลายปีแล้ว ตรงกันข้ามกับตัวจริงที่โทรมลงทุกวัน 

ที่ออสเตรเลียก็มีคำถามเรื่องการฝังกลบ แต่มีบริษัทหลายแห่งที่จะรีไซเคิลป้ายหาเสียง แต่มันมีเงื่อนไขบางประการ  ซึ่งน่าสงสัยว่าจะมีนักการเมืองสักกี่คนจะทุ่มเทกับการรีไซเคิลที่ยากลำบาก ทางเลือกแทนพลาสติกก็มีเช่นกระดาษที่ย่อยสลายง่ายกว่า แต่มีราคาแพงกว่า ดังนั้นหากถามว่าทำไมไม่ใช้กระดาษแทนพลาสติกลูกฟูก ต้นทุนคือ คำตอบ

ข้อมูลจาก

  • Maura Hohman. (Nov 12, 2020). “3 ways to dispose of campaign signs that are better than throwing them out”. TODAY.
  • James Valentine. (May 23, 2022). “Once the election campaign is over, can you recycle corflutes?”. ABC Radio Sydney.

ภาพ – André Natta from Birmingham, AL, United States – A sign of the times/wikipedia.org

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน