ชาวประมงพบกุ้งล็อบสเตอร์สีส้มหายาก 1 ใน 30 ล้านตัว

ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ได้รับมอบกุ้งล็อบสเตอร์สีส้มจากชาวประมง เพื่อนำมาศึกษาต่อ โดยนักวิจัยระบุว่านี่คือล็อบสเตอร์หายากที่พบได้เพียง 1 ใน 30 ล้านตัวเท่านั้น

โดยทั่วไปแล้วกุ้งล็อบสเตอร์จะมีสีหม่นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ และจะเปลี่ยนเป็นมีสีแดงหลังจากถูกทำให้สุกแล้วเท่านั้น เหตุที่สีของกุ้งล็อบสเตอร์ตัวนี้ต่างจากตัวอื่นอาจเกิดจากพันธุกรรม แต่ศูนย์ฯ ยังไม่ตัดประเด็นแวดล้อมออก

ถ้าสีของมันเกิดจากพันธุกรรม หลังลอกคราบมันจะยังมีสีส้มสม่ำเสมอ แต่ถ้าเกิดจากสภาพแวดล้อม มีความเป็นได้ที่สีของมันจะเปลี่ยนไปหลังย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่

ชารล์ส ธิลเบอร์ก ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลระบุว่ากามที่หายข้างหนึ่งอาจหลุดระหว่างเกิดการต่อสู้กับกุ้งหรือปลาตัวอื่น อย่างไรก็ตามทางศูนย์มีแผนที่จะทำการศึกษาแบบเรียลไทม์ จดบันทึกอย่างละเอียดเพื่อให้เห็นทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสีและก้ามอีกข้างว่าจะงอกเป็นสีอะไร

กุ้งล็อบสเตอร์สีส้มก้ามเดี่ยว ตัวนี้ถูกจับได้ที่อ่าวแคสโค ในรัฐเมน เมื่อวันศุกร์ โดยกัปตันเกรก เธอร์นเนอร์ จากร้านอาหารทะเล Turners’ Lobsters และลูกเรือ 2  คนคือ เซก เบลก และ แมนดี้ ไซร์ ก่อนส่งมอบให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล และเป็นตัวที่สองที่กัปตันเกรกและลูกเรือมอบให้กับศูนย์ โดยตัวแรกคือกุ้งล็อบเสตอร์ Calico ชื่อสปริงเคิล ซึ่งมีลายจุดส้มเหลือง

โอกาสในการจับกุ้งก้ามกรามสีส้มอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 30 ล้าน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว กุ้งก้ามกรามสีน้ำเงินเป็น 1 ใน 2ล้านตัว และกุ้งมังกรแยกสีคิดเป็น 1 ใน 50 ล้านตัวที่จับได้

ที่มา

UNE’s latest rare, donated lobster is an orange, one-clawed wonder. University of New England

Related posts

ปิดฉาก COP29 ไม่ราบรื่น ประเทศร่ำรวยช่วยโลกร้อนแค่ 3 แสนล้าน

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน