งานวิจัยเผย PM 2.5 เพิ่มความดันโลหิตในกลุ่มวัยรุ่นในลอนดอน

วิจัยใหม่พบการสัมผัส PM2.5 มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต (BP) ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในลอนดอน ตามการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร PLOS ONE 

ทีมนักวิจัยจาก Kings College London ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติ จำนวน3,284 คน จากทั้งหมด 51 โรงเรียน ในลอนดอน 

โดยติดตามเก็บข้อมูลการสัมผัสมลพิษต่อเนื่องของเด็ก 2 กลุ่ม กลุ่มแรกติดตามตั้งแต่อายุ 11-13 ปี และอีกกลุ่มติดตามตั้งแต่อายุ 14-16 ปี 

ผลการวิจัยพบว่าการสัมผัส PM2.5 ในระยะยาว ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงในทุกช่วงอายุของกลุ่มศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง

ในขณะเดียวกัน ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นมลพิษเป็นมลพิษจากเครื่องยนต์ดีเซลมีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตต่ำในกลุ่มศึกษานี้

นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าผลกระทบของมลพิษอากาศต่อภาวะความดันโลหิตไม่ได้สร้างความแตกต่างตามเชื้อชาติ น้ำหนัก หรือสถานะทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด

ดร. อเล็กซิส คารามานอส หนึ่งในทีมวิจัยระบุว่า ผลกระทบจากมลพิษอากาศจำเป็นต้องมีศึกษาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มากกว่าหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูงกว่าค่ามาตรฐานที่แนะนำ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามเยาวชน

การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสาร PLOS ONE

ที่มา

Feb 8, 2023. Air pollution particles ‘linked to higher blood pressure in London teenagers’. Independent UK

Feb 8, 2023. Associations between air pollutants and blood pressure in an ethnically diverse cohort of adolescents in London, England. PLOS ONE

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด