ไมโครพลาสติกที่ตกค้างดูเหมือนจะยังไม่เป็นเรื่องตื่นตัวสำหรับคนทั่วไป แต่การวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่านกทะเลกำลังทุกข์ทรมานจากโรคที่เกิดจากพลาสติกที่เรียกว่า ‘พลาสติกซิส‘
พลาสติกเป็นวัสดุที่แพร่หลายมากปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่พลาสติกจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสารก่อมลพิษเช่นกัน หลายปีมานี้มีการตรวจพบไมโครพลาสติกในธรรมชาติตั้งแต่ขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ ยอดภูเขาสูงถึงก้นลึกของมหาสมุทร และตรวจพบไมโครพลาสติกในสิ่งมีชีวิตเช่น นก ปลา แมวน้ำ และในมนุษย์ แต่ขอบเขตผลกระทบทางชีวภาพยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด
สำหรับการศึกษาครั้งใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนได้ตรวจสอบผลกระทบทางชีวภาพของนกทะเลชนิดหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้มีการศึกษาพบว่านกเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบไม่โครพลาสติกในร่างกายมากที่สุดในโลก
ในการดำเนินการศึกษาดังกล่าว ทีมวิจัยได้พบอาการข้างเคียงที่เกิดจากการไมโครพลาสติกในนกจนเป็นที่มาของโรคใหม่ ‘พลาสติโซซิส (Plasticosis)’
โรคพลาสติโซซิส เป็นโรคที่เกิดจากไมโครพลาสติกเข้าไปติดอยู่ในทางเดินอาหารของนก ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดแผลที่นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ มากมาย
ทีมวิจัยพบว่าการสัมผัสกับไมโครพลาสติกทำให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่กระเพาะส่วนหน้า(proventriculus) ซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย ส่งผลทำให้ต่อมที่หลั่งสารย่อยอาหารหยุดทำงาน และอาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินและเสี่ยงต่อการติดเชื้อและปรสิตมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าโรคพลาสติซิสคือหนึ่งปัจจัยส่งผลต่อการเจริญเติบโตของนกทะเลที่อายุน้อย การศึกษาพบว่าความยาวของปีกเชื่อมโยงกับปริมาณพลาสติกในร่างกาย ในขณะที่จำนวนชิ้นพลาสติกสัมพันธ์กับน้ำหนักโดยรวมของนก
ขณะนี้โรคพลาสติซีซิสได้รับการบันทึกไว้ในโรคระบบย่อยอาหารของสัตว์ปีกเท่านั้น แต่ทีมวิจัยระบุว่าแนวโน้มของโรคนี้อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดแผลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อพิจารณาแล้วว่าไมโครพลาสติกในธรรมชาติยังเป็นมลพิษที่พบได้ทั่วไป
ที่มา
- Mar 3, 2023. ‘Plasticosis’: a new disease caused by plastic that is affecting seabirds. National History Museum.