เมื่อน้ำแข็งละลาย ไวรัสอีกมากมายจะหลุดออกมาเล่นงานมนุษยชาติ

เมื่อ 2559 รัสเซียต้องต่อสู้กับการระบาดอันลึกลับในมุมห่างไกลของไซบีเรียที่แคว้นยามัล กวางเรนเดียร์ประมาณ 2,000 ล้มตาย มี 96 คนได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และเด็กชายอายุ 12 ปีเสียชีวิต

ชาวยามัลมักบริโภคเนื้อเนื้อกวางดิบตามธรรมเนียมของท้องถิ่น แต่เมื่อเชื้อเกิดระบาดขึ้นทำให้คนท้องถิ่นติดโรคอย่างรวดเร็ว

ในเวลานั้นเจ้าหน้าที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าการระบาดเริ่มต้นอย่างไร แต่ในตอนหลังมีการตั้งสมมติฐานกันว่าคลื่นความร้อนทำให้ดินที่ถูกแช่แข็งตลอดกาล หรือ Permafrost ละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ซากกวางเรนเดียร์ที่ติดเชื้อแอนแทรกซ์เมื่อหลายสิบปีก่อนโผล่ขึ้นมาและกระจายเชื้อโรคอีกครั้ง

นับเป็นการระบาดครั้งแรกของโรคระบาดในแถบอาร์กติกของยามัลในรอบ 70 ปี ท่ามกลางอุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียสในปี 2559

หลังจากนั้นโลกก็ติดตามการละลายของ Permafrost ในไซบีเรียด้วยใจระทึก เพราะมันละลายอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ และทำให้ประชาชนในท้องถิ่นกลัวว่าหากไปแตะต้อง Permafrost มากเกินไปอาจทำให้โรคร้ายเผยตัวออกมาได้

เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ความกลัวนี้ทำให้เกิดเสียงคัดค้านในเมืองยาคุตส เพราะมีแผนการที่จะใช้ที่ดินเปล่าเพื่อสร้างลานสเก็ต แต่ประชาชนกลัวว่าการก่อสร้างอาจทำให้สปอร์เชื้อแอนแทรกซ์ที่ซ่อนไว้ในดินแช่แข็งถาวรเผยตัวออกมา เพราะพื้นที่นี้เคยเป็นห้องปฏิบัติการสร้างเซรุ่มเชื้อแอนแทร็กซ์เมื่อหลายสิบปีก่อน

ความกังวลนี้ยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่โรคโบราณที่ซ่อนอยู่ใน Permafrost จะเผยกายขึ้นอีกครั้งเมื่อน้ำแข็งละลายจากภาวะโลกร้อน

Boris Kershengolts นักชีววิทยาของยาคุตสค์ผู้ศึกษาภูมิอากาศตอนเหนือของโลก กล่าวว่า สปอร์แอนแทรกซ์สามารถคงอยู่ได้ใน Permafrost นานสูงสุดถึง 2,500 ปี แต่ตอนนี้มันกำลังเสี่ยงที่จะหลุดออกมาอีก เพราะการละลายของน้ำแข็งถาวรของบริเวณฝังซากสัตว์สมัยศตวรรษที่ 19 เมื่อซากสัตว์เผยตัวอีกครั้ง โรคก็จะหลุดออกมา

ทั้งนี้ ยาคุตสค์เป็นเมืองที่หนาวที่สุดในโลกด้วยอุณหภูมิที่สามารถลดลงต่ำกว่า -60 C° ในฤดูหนาว แต่เพราะภาวะโลกร้อนทำให้ผู้คนเริ่มกลัวการฟื้นตัวของโรคที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ

ข้อมูลจากสถาบัน Melnikov Permafrost Institute ระบุว่า พื้นที่น้ำแข็งถาวรหรือ Permafrost ในใจกลางแคว้นยากูเตียกำลังหดตัวประมาณ 1 – 5 เซนติเมตรต่อปีและมากขึ้นในเขตเมือง

ในขณะเดียวกันการเกิดฝนได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ในแคว้นยากูเตียตั้งแต่ปี 1966 ซึ่งทำให้ผืนห่มหิมะหนาขึ้น เมื่อหิมะหนาขึ้นจะทำให้พื้นดินเป็นฉนวนป้องกันอากาศเย็นทำให้ใต้ดินอุ่นขึ้น และทำให้น้ำแข็งละลายมากขึ้น

แม้แต่ Vladimir Putin ประธานาธิบดีของรัสเซัยก็ยอมรับในภัยคุกคามนี้ โดยเขาบอกในที่ประชุมเกี่ยวกับอาร์กติก ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อเดือนเมษายน 2519 ว่า การที่รัสเซียกำลังร้อนเร็วกว่าทั่วโลกถึงสองเท่าครึ่ง ถือเป็นแนวโน้มที่น่าตกใจ

ที่น่าตกใจก็คือ การรละลายเพราะโลกร้อนทำให้เกิดโรคระบาดมาแล้ว เมื่อปี 2559 นั่นคือการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ในแคว้นยามัลนั่นเอง

อ้างอิง
Anthrax Outbreak In Russia Thought To Be Result Of Thawing Permafrost
https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2016/08/03/488400947/anthrax-outbreak-in-russia-thought-to-be-result-of-thawing-permafrost

Thawing Siberian permafrost soil risks rise of anthrax and prehistoric diseases
https://www.telegraph.co.uk/global-health/climate-and-people/thawing-siberian-permafrost-soil-risks-rise-anthrax-prehistoric/

ภาพจาก
Brocken Inaglory
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Permafrost_pattern.jpg

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย