อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรโลกทุบสติถิ สูงสุดเป็นประวัติการณ์

อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรทั่วโลกแตะ 21.1°C สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ปลายปีนี้อาจเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก

ตามบันทึกของ Climate Reanalyzer เว็บไซต์ที่รวบรวมและวิเคราะข้อมูลอุณภูมิต่างๆ ของโลก ภายใต้การดูและของ สถาบัน Climate Change มหาวิทยาลัยเมน สหรัฐอเมริกา ระบุว่าอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลรายวันตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรทั่วโลกสูงถึง 21.1°C และต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 เม.ย. ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมที่เคยบันทึกไว้ในปี 2016 ที่ 21.0°C

ศ.แมทธิว อิงแลนด์ นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์บอกกับ The Guardian ว่าความร้อนของพื้นผิวมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าในช่วงปลายปีนี้อาจเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก และปรากฎการณ์ 3 ปีของลานีญาได้ยุติลงแล้ว

ปรากฏการณ์ลานีญานั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 ต่อเนื่องจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นกว่าปกติในหลายประเทศของแถบมหาสมุทรแปซิฟิกดังที่ปรากฏเป็นข่าวน้ำท่วมหรือภัยหนาว

สภาวะหยุดนิ่งเป็นกลางทางภูมิอากาศที่เป็นอยู่ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการสับเปลี่ยนไปมาของปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา

ไมค์ แมคฟาเดน นักวิทยาศาสตร์ของ National Oceanic and Atmospheric Administration กล่าวกับ The Guardian ว่า ปรากฏการณ์ลานีญาล่าสุดได้สิ้นสุดลงแล้ว ช่วงเวลาความหนาวเย็นยาวนานจากลานีญาที่เกิดขึ้นช่วยนี้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกลดลงแม้จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นก็ตาม

“แต่ตอนนี้มันจบลงแล้ว เราน่าจะเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ดังและชัดเจนขึ้น” ไมค์กล่าว

อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นอาจหมายถึงคลื่นความร้อนในทะเลมากขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้อุณหภูมิบนบกสูงขึ้นตามเท่านั้นแต่นำไปสู่ผลกระทบด้านลบหลายประการ ตั้งแต่น้ำแข็งละลายและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ไปจนถึงพายุที่รุนแรงขึ้นและความเสี่ยงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงเหตุการณ์ปะการังฟอกขาว

ที่มา:
Apr 8, 2023. ‘Headed off the charts’: world’s ocean surface temperature hits record high. The Guardian
Mar 14, 2023. Rare ‘triple-dip’ La Niña is over. BBC

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย