พบซากแมมมอธแช่แข็งสมบูรณ์ที่สุดในอเมริกาเหนือมีอายุมากกว่า 30,000 ปี

รัฐบาลรัฐยูคอน ประทเศแคนาดา แถลงเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า มีการค้นพบซากลูกช้างแมมมอธขนอ่อนที่ยังเป็นทารกในสภาพใกล้สมบูรณ์และในทุ่งทองคำคลอนไดค์ภายในดินแดนดั้งเดิมของชนเผ่าโทรนเดกฮเวชอิน (Trʼondëk Hwëchʼin First Nation)

คนงานเหมืองที่ทำงานกับยูเรก้าครีกได้ค้นพบแมมมอธมีขนที่ถูกแช่แข็งขณะขุดผ่านชั้นดินเยือกแข็ง นี่เป็นการค้นพบครั้งสำคัญสำหรับดินแดนและชนเผ่าโทรนเดกฮเวชอิน และรัฐบาลของรัฐยูคอน ผู้เฒ่าชนเผ่าโทรนเดกฮเวชอิน ตั้งชื่อว่า “นูน โช กา” (Nun cho ga) ซึ่งมีความหมายว่า “ลูกสัตว์ตัวใหญ่” ในภาษาแฮน (Hän language) ซึ่งเป็นภาษาของชนเผ่านี้

รัฐยูคอนมีบันทึกพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสัตว์ยุคน้ำแข็ง แต่ซากมัมมี่ที่มีผิวหนังและขนนั้นแทบไม่เคยถูกค้นพบ “นูน โช กา” เป็นแมมมอธที่สมบูรณ์ที่สุดที่พบในอเมริกาเหนือ ก่อนหน้านี้คือการลูกช้างแมมมอธบางส่วน ชื่อ “เอฟฟี่” (Effie) ถูกพบในปี 1948 ที่เหมืองทองคำภายในอลาสก้า

การตรวจสอบแมมมอธขนอย่างคร่าว ๆ แสดงให้เห็นว่า “นูน โช กา” เป็นเพศเมียและมีขนาดใกล้เคียงกับมัมมี่ทารกอายุ 42,000 ปีชื่อ “ลยูบา” (Lyuba) ที่ค้นพบในไซบีเรียในปี 2007

นักธรณีวิทยาจากสำนักสำรวจทางธรณีวิทยายูคอนและมหาวิทยาลัยคาลการี ซึ่งเก็บกู้แมมมอธแช่แข็งในไซต์ได้ ชี้ว่า “นูน โช กา” เสียชีวิตและถูกแช่แข็งในชั้นดินเยือกแข็งระหว่างยุคน้ำแข็ง ซึ่งมีอายุมากกว่า 30,000 ปี

แถลงข่าวระบุว่า “การค้นพบครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากความร่วมมือระหว่างไบรอัน แมคคอแฮน (Brian McCaughan) จากเหมือง Treadstone Mining, ชนเผ่าโทรนเดกฮเวชอินและรัฐบาลยูคอน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าชนเผ่าโทรนเดกฮเวชอิน และรัฐบาลของยูคอนจะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ “นูน โช กา” ด้วยความเคารพ และแบ่งปันเรื่องราวและข้อมูลเหล่านี้กับชุมชนของเมืองดอว์สัน ที่อาศัยอยู่ในรัฐยูคอนและชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลก”

ข้อมูลและภาพจาก Government of Yukon

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่