เครื่องวัดน้ำท่วมยุคอียิปต์โบราณอยู่มานานหลายพันปีกระทั่งการสร้างเขื่อนเข้ามาแทนที่

The Nilometer on Roda Island at Cairo, Egypt, was built in 861 AD to measure the river's seasonal rise and fall. Too little water presaged famine while too much meant flooding.

นิโลมิเตอร์ (Nilometer) เป็นโครงสร้างโบราณตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณสำหรับวัดความขุ่นและระดับน้ำของแม่น้ำไนล์ในช่วงฤดูน้ำท่วมประจำปี โครงสร้างมีระบบวัดเป็นเสาแนวตั้ง เป็นบันไดทางเดินที่ทอดลงสู่แม่น้ำไนล์ และเป็นบ่อน้ำลึกพร้อมท่อระบายน้ำ

หากตัววัดเหล่านี้แสดงระดับน้ำต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ของที่ราบน้ำท่วมถึงจะได้รับผลกระทบ ถ้ามันสูงเกินไป น้ำท่วมจะเป็นอันตราย มีเครื่องหมายเฉพาะที่ระบุว่าน้ำท่วมควรสูงแค่ไหนหากทุ่งนาที่ไร่จะผลเพาะปลูกดี

น้ำไหลบ่าประจำปีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมอียิปต์โบราณ น้ำไหลบ่าปานกลางเป็นส่วนสำคัญของวัฏจักรการเกษตร อย่างไรก็ตาม น้ำไหลบ่าที่น้อยกว่าปกติจะทำให้เกิดความอดอยาก และน้ำที่ท่วมมากเกินไปก็จะทำให้เกิดหายนะไม่แพ้กัน เพราะมันจะทำลายล้างโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นบนที่ราบน้ำท่วมถึงจนหมดสิ้นไป

บันทึกจากปี ค.ศ. 622–999 ระบุว่าโดยเฉลี่ยแล้ว 28% ของช่วงเวลาดังกล่าวเกิดน้ำไหลบ่าที่ไม่เป็นไปตามคาด

อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำนายปริมาณน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปริศนาลี้ลับของนักบวชและผู้ทรงภูมิแห่งยุคอียิปต์โบราณ ทักษะเดียวกันนี้ยังมีบทบาททางการเมืองและการบริหาร เนื่องจากผู้ปกครองจะใช้ปริมาณของแม่น้ำในแต่ละปีเพื่อกำหนดระดับภาษีที่จะต้องจ่าย

นี่คือจุดที่เครื่องวัดนิโลมิเตอร์เข้ามามีบทบาท โดยมีนักบวชคอยเฝ้าติดตามระดับแม่น้ำในแต่ละวันและประกาศการมาถึงของน้ำไหลบ่าช่วงฤดูร้อนที่เกษตรกรเฝ้ารอคอย

นิโลมิเตอร์มีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ จนถึงยุคโรมันก็สืบทอดเทคโนโลยีนี้มา จนถึงยุคศาสนาอิสลามก็ยังใช้กันมา โครงสร้างของมันยังคงพบเห็นได้บนเกาะโรดาในตอนกลางของกรุงไคโร เครื่องวัดระดับน้ำที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้มีอายุย้อนไปถึงปี ค.ศ. 861 ในสมัยกาหลิบ หรือประมุขแห่งอาณาจักรอับบาซิด ชื่อ อัล-มูทาวัคกิล สั่งให้ก่อสร้าง ดูแลโดยนักดาราศาสตร์ ชื่อ อัลฟรากานุสนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ 9

จนกระทั่ง ในศตวรรษที่ 20 การไหลบ่าตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นประจำปีของแม่น้ำไนล์ลดลงอย่างมากเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และจากนั้นปรากฏการณ์ที่อยู่มานานหลายหมื่นหลายพันปีนี้ก็ถูกำจัดจนหมดสิ้นไป ด้วยการสร้างเขื่อนอัสวาน ซึ่งผลกระทบของเขื่อนอัสวานต่ออียิปต์และเกษตรกรรมในอียิปต์ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ามันส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน แต่ที่ชัดคือ มันมีผลกระทบทำให้นิโลมิเตอร์ล้าสมัย

ในที่สุดนิโลมิเตอร์ที่เป็นมรดกของยุคฟาโรห์ก็ถึงกาลอวสานลงในยุคสมัยของคนยุคใหม่ ยุคแห่งการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ และเขื่อนอัสวานไม่เพียงทำให้นิโลมิเตอร์และการไหลบ่าของแม่น้ำไนล์จนหมดสิ้นเท่านั้น มันยังท่วมโบราณสถานยุคฟาโรห์มากมาย จนเกิดปฏิบัติการรื้อโบราณสถานอันล้ำค่าเหล่านั้นหนีน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนไปด้วย ส่วนที่ย้ายไม่ทันก็จมน้ำไปตลอดกาล

ภาพ: David Stanley/wikipedia.org/

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน