การศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่า สารเคมีที่มีปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่า ไฮโดรไตรออกไซด์ Hydrotrioxides (ROOOHs) จำนวนหลายล้านตันสามารถคงอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลาหลายชั่วโมง และอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสภาพอากาศโลก
ไฮโดรไตรออกไซด์เป็นสารประกอบทางเคมีที่มีอะตอมของไฮโดรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน 3 อะตอม แต่ก่อนเชื่อกันว่ามันไม่เสถียรมากพอที่จะคงอยู่ได้นานภายใต้สภาวะบรรยากาศ แต่ตอนนี้พวกเขาพบว่า มันสามารถคงความเสถียรเพียงพอที่จะทำปฏิกิริยากับสารประกอบอื่น ๆ ในบรรยากาศ
นั่นหมายความว่า มันจะคงทนอยู่ได้นานจนมีปฏิกิรยากับสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศ และทีมวิจัยยังสงสัยว่า ไตรออกไซด์จะสามารถเจาะเข้าไปในอนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่เรียกว่าละอองลอย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจนำไปสู่โรคระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจ
“พวกมันมักจะเข้าสู่ละอองลอยซึ่งจะสร้างสารประกอบใหม่ที่มีผลกระทบใหม่ เป็นเรื่องง่ายที่จะจินตนาการว่าสารใหม่จะก่อตัวขึ้นในละอองลอยซึ่งเป็นอันตรายหากสูดดม แต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้” เฮนริก กรุม คเยอร์การ์ด (Henrik Grum Kjærgaard) กล่าว
คเยอร์การ์ด เป็นศาสตราจารย์จากภาควิชาเคมีของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนเป็นผู้เขียนอาวุโสของการศึกษานี้ ซึ่งเพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ยังบอกว่า “เนื่องจากพวกมันออกซิไดซ์อย่างสูง พวกมันน่าจะนำมาซึ่งผลกระทบมากมายที่เรายังไม่ได้เปิดเผยมันออกมา”
“สารประกอบเหล่านี้มีอยู่รอบตัวเสมอ – เราแค่ไม่รู้เกี่ยวกับพวกมัน แต่ความจริงที่ว่าตอนนี้เรามีหลักฐานว่าสารประกอบนั้นก่อตัวและมีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหมายความว่า สามารถศึกษาผลกระทบของพวกมันได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น และทำการจัดการพวกมันหากพบว่าเป็นอันตราย” คเยอร์การ์ด กล่าว
นักวิจัยยอีกรายคือ ทอร์สเตน แบร์นท์ (Torsten Berndt) บอกว่า ยังอาจเป็นไปได้ว่าไฮโดไตรออกไซด์อาจมีผลเมื่อปอดของเราหายใจเอาอากาศที่มีพวกมันปนเปื้อนในระดับความเข้มข้นต่ำมาก เแต่การศึกษานี้เป็นเพียงการค้นพบสารนี้ ยังต้องการลงลึกไปอีกว่ามันกระทบต่อเราอย่างไร “ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ในขณะนี้”
คริสเตียน เอช. มอลเลอร์ (Kristan H. Møller) หนึ่งในผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า “กิจกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่นำไปสู่การปล่อยสารเคมีออกสู่บรรยากาศ ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาที่กำหนดเคมีในบรรยากาศจึงมีความสำคัญ หากเราสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของเราจะส่งผลต่อบรรยากาศในอนาคตอย่างไร”
ข้อมูลจาก
- “New type of extremely reactive substance in the atmosphere”. (6 May 2022). University of Copenhagen.
- Tom Metcalfe. (June 1, 2022). “New, extremely reactive chemical discovered in the atmosphere”
ภาพ – NASA – NASA Image of the Day