นักวิทย์ญี่ปุ่น ค้นพบไมโครพลาสติกในก้อนเมฆเป็นครั้งแรก

by IGreen Editor

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบไมโครพลาสติกปริมาณ 6.7-13.9 ชิ้นต่อน้ำ 1 ลิตร จากตัวอย่างน้ำที่เก็บได้จากหมอกที่ปกคลุมยอดเขาฟูจิและภูเขาโอยามะ

บทความงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Chemistry Letters เผย นักวิทยาศาสตร์ได้ปีนภูเขาไฟฟูจิและภูเขาโอยามะ เพื่อรวบรวมน้ำจากหมอกที่ปกคลุมยอดเขา จากนั้นจึงใช้เทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูงกับตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี

จากการตรวจสอบพบว่า น้ำ 1 ลิตรจากก้อนเมฆมีไมโครพลาสติกเป็นส่วนประกอบ 6.7-13.9 ชิ้น นอกจากนี้ยังพบว่าไฮโดรฟิลิก (Hydrophilic) หรือโพลีเมอร์เป็นจำนวนมาก บ่งชี้ว่าอนุภาคเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการก่อเมฆ โดยนักวิจัยยืนยันว่าไมโครพลาสติกที่อยู่ในเมฆซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

ฮิโรชิ โอโกชิ ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กล่าวว่า หากปัญหามลพิษอากาศจากพลาสติกไม่ได้รับการจัดการ สภาพอากาศและระบบนิเวศจะเสียหายอย่างรุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้อีกในอนาคต

โอโคจิกล่าวเสริมว่า เมื่อไมโครพลาสติกลอยขึ้นไปถึงบนชั้นบรรยากาศ และสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด มันจะสลายตัวทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

อย่างไรก็ตามกลไกการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในชั้นบรรยากาศยังไม่ชัดเจนโดย เนื่องจากปัจจุบันการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีอยู่จำกัดมาก

ที่มา

  • Sep 27, 2023. Plastic Cloud: New Study Analyzes Airborne Microplastics in Clouds. Waseda University
  • Sep 27, 2023. Japanese scientists find microplastics are present in clouds. Aljazerra

Copyright @2021 – All Right Reserved.