พบไมโครพลาสติกครั้งแรก80% อยู่ในเลือดมนุษย์เสี่ยงกระทบสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากผู้บริจาค 22 ราย ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งหมด และพบอนุภาคพลาสติกใน 17 ตัวอย่าง ครึ่งหนึ่งของตัวอย่างมีพลาสติก PET ซึ่งใช้กันมากในขวดเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหารและเสื้อผ้าเป็นพลาสติกรูปแบบที่แพร่หลายที่สุดในกระแสเลือดของมนุษย์ที่มีการศึกษา

ในขณะที่กลุ่มที่สามประกอบด้วยโพลีสไตรีน ใช้สำหรับบรรจุอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตัวอย่างเลือดหนึ่งในสี่มีโพลิเอทิลีนซึ่งใช้ทำถุงพลาสติก โดยรวมแล้วนักวิทยาศาสตร์พบไมโครพลาสติกเกือบ 80% ในเลือดของมนุษย์ที่ทำการทดสอบ

ทีมวิจัยได้ทดสอบเลือดของคน 22 คนเพื่อหาพลาสติก 5 ชนิด ได้แก่ พอลิเมทิลเมทาคริเลต (PMMA) โพลิโพรพิลีน (PP) โพลิสไตรีน (PS) โพลิเอทิลีน (PE) และโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริจาคโลหิต 17 รายจาก 22 รายมีอนุภาคพลาสติกจำนวนมากในเลือดของพวกเขา โดยในตัวอย่างเลือด PET ถูกพบในกระแสเลือด 50% ของจำนวนที่ทดสอบ ขณะที่ polystyrene มีอยู่ใน 36%

ศาสตรจารย์ดิกค์ เวธาก (Dick Vethaak) กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าเกือบ 8 ใน 10 ของคนที่ได้รับการทดสอบมีอนุภาคพลาสติกในเลือด แต่ไม่ได้บอกเราว่าอนุภาคพลาสติกมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย

การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกสามารถเดินทางไปทั่วร่างกายและอาจติดอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

นักวิจัยกังวลว่า ไมโครพลาสติกจะสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ และการที่อนุภาคซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เสี่ยงเกิดการอักเสพเรื้อรังและทำให้มีคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหลายล้านคนต่อปี

ขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมจำนวนมาก โดยในปัจจุบันไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทั่วโลก แม้กระทั่งยอดเขาเอเวอเรสต์และก้นมหาสมุทรที่ลึกที่สุดก็ยังพบไมโครพลาสติก ซึ่งทราบกันดีว่ามาจากการบริโภคอนุภาคเล็ก ๆ ผ่านทางอาหารและน้ำ เช่นเดียวกับการหายใจเข้าไปโดยที่ก่อนนี้พบในอุจจาระของทารกและผู้ใหญ่ด้วย

ศาสตรจารย์เวธาก นักนิเวศวิทยาด้านพิษวิทยาจาก Vrije Universiteit Amsterdam ในเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้งานวิจัยพบไมโครพลาสติกในอุจจาระของทารกสูงกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า และทารกที่ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกจะกลืนอนุภาคไมโครพลาสติกเข้าไปนับล้านชิ้นต่อวัน

ในขณะที่การผลิตพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2040 ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิทยาศาสตร์ และสมาชิกรัฐสภามากกว่า 80 แห่ง ขอให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรจัดสรรเงิน 15 ล้านปอนด์เพื่อการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จากพลาสติก

เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อทารกในครรภ์, ทารกและต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสิ่งที่จะต้องศึกษาวิจัยเชิงลึกกันต่อไปคือไมโครพลาสติกจะเป็นสารก่อมะเร็งหรือไม่

อ้างอิง:
Harry Cockburn (Mar 26, 2022) “Microplastics found in human blood for first time in ‘extremely concerning’ study” . Indepentdent
Damain Carrington (Mar 24, 2022) “Microplastics found in human blood for first time” . Guardian

Related posts

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

อุณหภูมิทะลุ 3.1°C แผนลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 เป็นเรื่องเพ้อฝัน