ผลทดสอบเนื้อวัว, หมู และเลือดปนเปื้อนไมโครพลาสติก 73%คาดมาจากอาหารสัตว์

การศึกษาใหม่ของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์วิจัยพบไมโครพลาสติกในเนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งยังพบในตัวอย่างอาหารเม็ดของสัตว์ทุกตัวอย่างที่ทดสอบ ซึ่งบ่งชี้ว่าการปนเปื้อนอาจมาจากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์

ก่อนหน้านี้นักวิจัยของ Vrije Universiteit Amsterdam (VUA) รายงานการพบไมโครพลาสติกในเลือดมนุษย์เป็นครั้งแรกในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และพวกเขาใช้วิธีเดียวกันในการทดสอบผลิตภัณฑ์จากสัตว์

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ขยะพลาสติกจำนวนมากถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาลต่อปี และทำให้เกิดไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทั่วโลก ตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปจนถึงมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ดังเป็นไปได้สูงที่ผู้คนจะบริโภคอนุภาคขนาดเล็กผ่านทางอาหารและน้ำเช่นเดียวกับการหายใจเข้าไป

ซึ่งอนุภาคขนาดเล็กจากมลพิษอากาศที่เข้าสู่ร่างกายส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจำนวนหลายล้านคนต่อปี รวมถึงสัตว์ป่าบางชนิดยังได้รับอันตรายจากไมโครพลาสติกอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบตัวอย่างเลือดวัว 12 ตัวอย่างและเลือดสุกร 12 ตัวอย่างในฟาร์มที่เนเธอร์แลนด์ พบไมโครพลาสติกในตัวอย่างทั้งหมด รวมทั้งโพลิเอทิลีนและโพลิสไตรีน ตัวอย่างนม 25 ตัวอย่าง ได้แก่ นมจากกล่องซุปเปอร์มาร์เก็ต ถังนมในฟาร์ม และการรีดนมด้วยมือ ตัวอย่าง 18 ตัวอย่าง อย่างน้อยหนึ่งชนิดมีไมโครพลาสติก

Plastic Soup Foundation องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า 73% ของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาทดสอบมีไมโครพลาสติก การวิจัยนี้ชี้ได้ว่า มีไมโครพลาสติกอยู่ในอาหารสัตว์ ดังนั้นการศึกษาใหม่นี้จึงจุดประกายความกังวลที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอนุภาคพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร

อ้างอิง:
Damian Carrington (Jul 8, 2022) “Microplastics detected in meat, milk and blood of farm animals” . The Guardian
Maeve Campbell (Jul 8, 2022) “Microplastics: Polluting our blood, foetuses – and now the dairy and meat we eat” . Euronews

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่