แม่เพรียง ‘เต่ากระแม่ลูกดก’ โผล่วางไข่รังที่ 2 เกาะทะลุ

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) และมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม พบ ‘แม่เพรียง’ เต่ากระ กลับขึ้นมาวางไข่ รังที่ 2 รวม 161 ฟอง ที่บริเวณชายหาดเกาะทะลุเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 01.49 น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ร่วมกันออกลาดตระเวน บริเวณพื้นที่เกาะทะลุ ซึ่งเป็นจุดที่เต่ากระมักขึ้นมาวางไข่เป็นประจำทุกปี
.
พบ ‘แม่เพรียง’ เต่ากระหมายเลขไมโครชิพ 933.076400505 867 ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวในหุบของเกาะทะลุ อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 รัง ขนาดหลุม กว้าง 21 ลึก 43 เซนติเมตร จำนวนไข่ 161 ฟอง

เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันทำการเคลื่อนย้ายรังไปยังบ่ออนุบาลของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม เพื่อเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางธรรมชาติ โดยมีมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม เป็นผู้ดูแล
.
ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ เฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งไข่เต่ากระจะใช้เวลาในการเพาะฟักที่จะโผล่ขึ้นมาจากหลุมคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 60-65 วัน ซึ่งหากลูกเต่าออกมาแล้วก็จะนำไปอนุบาลไว้ในบ่อเพาะเลี้ยงต่อไป จนกว่าสุขภาพแข็งแรง จึงจะปล่อยกลับลงสู่ทะเล


.
ครั้งล่าสุดที่แม่เพรียงขึ้นวางไข่ที่เกาะทะลุ คือปี 2564 ครั้งนั้นแม่เพรียงวางไข่ถึง 7 รัง รวม 1,019 ฟอง
.
จริงๆ แล้วแม่เพรียงไม่ได้วางไข่เยอะแบบนี้เป็นครั้งแรก เมื่อย้อนดูสถิติการวางไข่ของแม่เพรียงที่เจ้าหน้าพบ ซึ่งอาจมีมากกว่านั้น
.
ปี 2562 วางไข่ 3 รัง รวม 466 ฟอง
ปี 2561 วางไข่ 5 รัง รวม 887 ฟอง
ปี 2559 วางไข่ 5 รัง ไม่ได้ขุดย้าย 1 รัง นับเฉพาะรังที่ขุดย้าย 4 รัง รวม 563 ฟอง
ปี 2556 วางไข่ 6 รัง รวม 687 ฟอง
ปี 2555 วางไข่ 4 รัง รวม 605 ฟอง
ปี 2554 วางไข่ 2 รัง รวม 250 ฟอง ในปีนี้พบเต่ากระวางไข่ทั้งหมด 14 รัง แต่พบเฉพาะรังของแม่เพรียงคือ 2 รัง
.
ตลอด 11 ปีที่มูลนิธิฯ เก็บรวบรวมมาแม่เพรียงวางไข่แล้ว 4,477 ฟอง รางวัลเต่ากระแม่ลูกดกเลยตกเป็นของแม่เพรียงอย่างไม่มีข้อสงสัย
.
ขอบคุณข้อมูลและภาพ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน