บทเรียน ‘ปลาข่า’ แห่งลุ่มน้ำโขงสูญพันธุ์จากประเทศลาวแล้วข้อคิดการอนุรักษ์โลมาอิระวดีทะเลสงขลา

บทเรียนที่ดีสำหรับการอนุรักษ์โลมาอิระวดีในทะเลสาบสงขลา ก็คือโลมาอิรวดีน้ำจืดตัวสุดท้ายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณพรมแดน สปป.ลาว และกัมพูชาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้เสียชีวิตไป เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา หลังจากติดอวนจับปลาของชาวบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องน่าหดหู่ของนักอนุรักษ์อย่างมาก

กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ประกาศว่าประชากรโลมาอิรวดีน้ำจืดในพื้นที่สูญพันธุ์ไปแล้วในทางเทคนิค (functionally extinct) ตั้งแต่ปี 2016 หลังจากพบว่ามีคู่ผสมพันธุ์ที่มีศักยภาพน้อยเกินไปที่จะรับประกันความอยู่รอดของประชากร ดังนั้นการตายของโลมาอิรวดีน้ำจืดตัวสุดท้ายนี้ ทำให้โลมาอิรวดีจึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศลาวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง ทะเลสาบเขมร แต่ในระยะหลังประชากรตามแหล่งแม่น้ำเหล่านี้ลดหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ยังสามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบจิลิกา ประเทศอินเดีย, ทะเลสาบสงขลา, ปากแม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง และแม่น้ำมาฮากัม ประเทศอินโดนีเซีย

โดยสถานที่พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุดคือทะเลสาบสงขลาในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย คาดว่าเหลือเพียง 14 ตัวเท่านั้น ขณะที่ที่แม่น้ำโขงบริเวณลาว-กัมพูชามีประมาณ 92 ตัว แต่โลมาอิระวดีตัวสุดท้ายที่ตายล่าสุดในลาว ก็เท่ากับว่าลาวจะไม่มีโลมาน้ำจืดอีกต่อไปแล้ว

ข้อคิดนี้เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับการอนุรักษ์โลมาอิระวดีในทะเลสาบสงขลา ซึ่งล่าสุด ครม.เพิ่งอนุมัติการสร้าง “สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา” ไปยัง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง วงเงิน 4,841 ล้านบาท โดยวาดฝันจะให้เป็น “แลนด์มาร์คแห่งใหม่” กับภาคใต้ ซึ่งเอาเข้าจริงไม่แน่ใจว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ หรืออาจเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงทำให้ “โลมาอิรวดีน้ำจืด” 14 ตัวสุดท้ายแห่งทะเลสาบสงขลาสูญพันธุ์เร็วขึ้น?

ข้อมูลจาก
• Long Kimmarita. (15 February 2022). “Last of his kind: Irrawaddy dolphin in Chheuteal dead”. The Phnom Penh Post.
• Latsamy Phonevilay. (16 February 2022). “Last Irrawaddy Dolphin Dies in Waters Between Cambodia and Laos”. Laotian Times.
• Wikipedia contributors. “Irrawaddy dolphin.” Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 29 Jan. 2022. Web. 17 Feb. 2022.
ภาพจาก phnompenhpost

Related posts

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

อุณหภูมิทะลุ 3.1°C แผนลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 เป็นเรื่องเพ้อฝัน