สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘เคย’ ไม่ใช่แค่จับมาทำกะปิบริโภค ยังช่วยกักเก็บคาร์บอนถึง 23 ล้านตัน

รายงานล่าสุดจาก  Changing Markets Foundation ชี้ว่า สัตว์หลายชนิด เช่น วาฬ เพนกวิน แมวน้ำ และปลาหมึก ต่างก็อาศัย “เคย” เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ (ไม่ใช่แค่นำมาทำกะปิสำหรับมนุษย์เท่านั้น) แต่การศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าการจับเคยอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่ออุตสาหกรรมอิงทุนนิยม กำลังทำให้เกิดภัยคุกคามต่อเคยและสัตว์กินเนื้อเป็นอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การตรวจสอบพบว่าบริษัทต่างๆ ที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์จากเคย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมหลักจากเคย และอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากเคย พบว่ากว่า 68% ของผู้ค้าปลีกรายใหญ่ทั่วโลก 50 แห่งขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพจากเคย 

นอกจากนี้ยังมีการใช้เคยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเน้นที่การขายปลาแซลมอนที่เลี้ยงในยุโรป แม้จะขาดความโปร่งใสเฉพาะถิ่นเกี่ยวกับที่มาของอาหารสัตว์น้ำ รายงานสามารถยืนยันได้ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 16 แห่งที่ทำการตรวจสอบขายปลาแซลมอนที่เลี้ยงด้วยเคย นอกจากนี้ ไม่พบบริษัทใดในห่วงโซ่อุปทานอาหารสัตว์น้ำที่มีนโยบายที่จะยกเว้นการใช้เคย

รายงานยังเผยให้เห็นถึงกลวิธีของอุตสาหกรรมจับเคย ในการแปลงภาพลักษณ์ว่าการล่าเคยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งรวมถึงการทำการตลาดให้เคยเป็นผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมที่ยั่งยืนผ่านการใช้ฉลากการขายเชิงนิเวศ ทั้งๆ ที่เคยสามารถชี้เป็นชี้ตายชะตากรรมของโลกได้

รายงานระบุว่า “มนุษย์ยังต้องพึ่งพาเคยในการอยู่รอด ฝูงเคยทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ โดยกินสาหร่ายที่จับคาร์บอนใกล้ผิวน้ำ จากนั้นว่ายน้ำไปยังระดับความลึกที่ต่ำกว่าและทิ้งของเสียที่เก็บคาร์บอนลงที่ด้านล่างของมหาสมุทรในรูปแบบสายพานลำเลียงขนาดยักษ์ เคยสามารถกำจัดคาร์บอนได้มากถึง 23 ล้านตันจากชั้นบรรยากาศของโลกในแต่ละปี เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ 35 ล้านคัน”

ไม่เพียงเท่านั้น พวกมันยังรวมตัวกันเป็นจำนวนมากจนมีส่วนร่วมในการเคลื่อนตัวของคาร์บอนในมหาสมุทรอย่างมีนัยสำคัญ มีอิทธิพลอย่างมากต่อระดับคาร์บอน และด้วยเหตุนี้พวกมันจึงความสามารถในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่สองในสามของโลกเราและมีบทบาทสำคัญในการค้ำจุนชีวิตบนโลก อย่างไรก็ตาม การจับปลามากเกินไป มลภาวะ ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ระบบนิเวศของมหาสมุทรอยู่ภายใต้ความเครียดที่รุนแรง 

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประมาณการว่ากว่า 90% ของปริมาณจำนวนปลาทั่วโลกมีทั้งที่มาการประมงเกินขนาด (33.1%) หรือทำการประมงจนถึงเกือบเกินระดับที่ยั่งยืนสูงสุด (59.9%) การจับปลามากเกินไปและชนิดพันธุ์อื่นๆ มากเกินไปเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อความยั่งยืนในระยะยาวของการประมง และต่อผู้คนที่พึ่งพาอาศัยและการดำรงชีวิต

แม้จะมีแนวโน้มเหล่านี้ การบริโภคอาหารทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และประมาณครึ่งหนึ่งของการบริโภคปลาทั่วโลกในปัจจุบันมาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้อ้างว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีศักยภาพที่จะให้โปรตีนที่ดีต่อสุขภาพและราคาไม่แพง 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญานี้ เนื่องจากการพึ่งพาปลาที่จับได้ตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เกือบหนึ่งในห้าของการจับทั้งหมดของโลกถูกแปรรูปเป็นปลาป่นและน้ำมันปลาเพื่อเลี้ยงปลาในฟาร์ม  

ข้อมูลจาก

https://changingmarkets.org/portfolio/fishing-the-feed/

ภาพ Øystein Paulsen – MAR-ECO

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย