OPINION: แม่น้ำโขงไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของจีน

เรารู้มานานแล้วว่าแม่น้ำโขงถูกจีนสร้างเขื่อนและเตรียมสร้างกั้นไว้ถึง 11 แห่งและหลังจากนั้นระดับแม่น้ำโขงไม่ขึ้นลงตามธรรมชาติอีก

ในฤดูแล้งกลับมีน้ำเจิ่งนอง ในฤดูฝนกลับแห้งอดถจนแทบจะเห็นพื้น ความผิดปกตินี้ทำลายระบบนิเวศของธรรมชาติและทำลายวิถีชีวิตของคนริมสองฝั่งโขง

ในหน้าแล้งคนสองฝั่งโขงจะใช้ริมตลิ่งปลูกผักเลี้ยงชีพ และไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะเอ่อล้นฉับพลันกลางหน้าแล้งเพราะมันแทบเป็นไปไม่ได้

แต่ตอนนี้มันเป็นไปแล้ว ปลูกผักอยู่ๆ น้ำก็เอ่อท่วมแปลงผักจนหมด

สำหรับชาวบ้านที่พอมีกินอยู่บ้าง พวกเขาสูญเสียรายได้เสริมช่วงว่างจากการทำนาไป แต่ชาวบ้านจำนานมากริมแม่น้ำโขงที่ไม่มีอันจะกิน แปลงผักเหล่านี้ชี้เป็นชี้ตายชีวิตพวกเขาเลยทีเดียว

จีนปล่อยน้ำตามใจฉันแบบนี้ติดนิสัยของประเทศเผด็จการ คิดว่าตัวเป็นเจ้าโลกจะชี้เป็นชี้ตายอะไรก็ได้ แต่คงลืมไปว่าทำแบบนี้คนไทยเขาไม่ถือเป็นเจ้าโลก แต่เรียกว่า “นักเลง”
ที่หัวเราะไม่ออกก็คือเมื่อเห็นกันชัดๆ ว่าจีนบืดเบือนกระแสน้ำ และยังมีรายงานออกมาย้ำข้อเท็จจริงนี้ กระทรวงการต่างประเทศจีนดันโกรธแล้วเถียงว่า “เป็นข้อกล่าวหาที่ไร้เหตุผล”
ได้ยินแล้ว “เบิดคำสิเว้า”

มันไม่เฉพาะแค่ผักสวนครัวเท่านั้น น้ำที่ขึ้นๆ ลงๆ ตามใจจีนทำให้สัตว์น้ำวางไข่ไม่ได้ ทวนน้ำข้ามไปยังถิ่นเพาะพันธ์ก็ยากลำบากขึ้น

เมื่อน้ำโขงขึ้นลงไม่เป็นธรรมชาติ การสัญจรทางเรือก็ลำบากขึ้น เกาะแก่งที่ไม่เคยโผล่นอกฤดูก็พ้นน้ำตลอดทั้งปีทั้งชาติ การเดินทางโดยเรือยิ่งทำได้ยาก

แทนที่จะจีนจะปล่อยให้แม่น้ำไหลเป็นธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหานี้ กลับเร่งรัดให้ประเทศใต้น้ำระเบิดแก่งไปเสียเพื่อจะได้เดินทางค้าขายกันสะดวกขึ้น

การแก้ปัญหาที่เห็นแก่ได้นี้ทำให้เสียทัศนียภาพอันน่ามหัศจรรย์ของแม่น้ำโขง แต่ยังไม่เท่ากับสัตว์น้ำเสียแหล่งที่อยู่อาศัย แม้น้ำโขงยิ่งใกล้ความตายเข้าไปทุกวันๆ

เรารู้อยู่แล้วว่าการสร้างเขื่อนของจีนทำให้เกิดเรื่องพวกนี้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันจนกระทั่ง Alan Basist และ Claude Williams สองนักวิจัยอเมริกันรวบรวมหลักฐานมัดตัวจีนได้แบบอยู่หมัดว่าเพราะเขื่อจีนปล่อยน้ำไม่ดูฤดูกาล ปล่อยแบบตามใจชอบ ปล่อยเพื่อผลิตไฟฟ้าทำให้แม่น้ำโขงทั้งสายพินาศย่อยยับ

ไม่น่าเชื่อมนุษย์จะกระหายการพัฒนาเศรษฐกิจถึงกับคิดฆ่าแม่น้ำทั้งสายลงได้!

แต่ไม่ต้องแปลกใจ กับแม่น้ำแยงซีเกียงจีนก็ทำลายมาแล้วด้วยการสร้างเขื่อนสามโตรก (Three Gorges Dam) และปล่อยให้โรงงานอุตสาหกรรมระบายสารพิษลงสู่แม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของประเทศ

แล้วไอ้มลพิษที่ปล่อยจากแยงซีเกียงนี่แหละมันก็ลงทะเลกลายเป็นปัญหาของชาวโลกต่อไปอีก

ผลกระทบของเขื่อนสามโตรกที่ขวางกั้นแยงซีเกียงเลวร้ายมาก ทำให้ระบบนิเวศสะเทือนอย่างส่งหนักเอาเฉพาะแค่สัตว์น้ำก็สูญพันธุ์ไปแล้วจำนวนหนึ่งและเสี่ยงจะสูญพันธุ์อีกมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโลมาแม่น้ำจีน (Baji) ตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว

นักวิชาการชาวจีนของรัฐบาลยังบอกเองว่าเขื่อนสามโตรกนั้นส่งผลโดยตรงต่อการสูญพันธุ์ของพวกมัน

ปลาฉลามปากเป็ด (Paddlefish) ที่เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้นคือในสหรัฐอเมริกาและแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้วจากแยงซีเกียง

ส่วนที่ยังรอดอยู่แต่ได้รัลผลกระทบอยางเลวร้ายจนอาจจะไม่รอดในอนาคตคือปลาสเตอร์เจียนแยงซี (Yangtze sturgeon) ซึ่งหายากและใกล้สูญพันธุ์อยู่รอมร่อ

ปลาน้ำจืดที่ยังไม่สูญพันธุ์ก็อยู่อย่างยากลำบากจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำและระบบการไหลและยังได้รับบาดเจ็บที่ใบพัดเทอร์ไบน์ผลิตไพฟ้า

นี่แค่เบาะๆ เท่านั้น และปลาแม่น้ำโขงทั้งหลายต้องเจอแบบเดียวกัน

ชะตากรรมของปลาบึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำโขงเริ่มจะคล้ายๆ กับปลาสเตอร์เจียนแยงซี พวกมันต้องอาศัยการไหลของแม่น้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลมาเป็นสัญญาณการอพยพย้ายถิ่น แต่การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเหล่านี้จะลดลงอย่างมากจากเขื่อนและการบิดเบือนกนะแสน้ำ

แม้แต่น้ำแยงซีเกียงเป็นเส้นเลือดของจีนเป็นสายธารแห่งวัฒนธรรมจีน แต่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ยังบืดเบือนวิถีของมันได้ลงคอ

กับแม่น้ำโขงที่เป็นแค่แม่น้ำริมชายขอบ คุณคิดว่าจีนจะสนใจอะไรมากกว่ากันระหว่างระบบนิเวศกับการกอบโกยทางเศรษฐกิจ?

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน