พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3กับการล่าสุนัขจิ้งจอกกีฬาของชนชั้นสูงอังกฤษ

การล่าสุนัขจิ้งจอกกับสุนัขล่าเนื้อเป็นกิจกรรมที่เป็นทางการ มีต้นกำเนิดในอังกฤษในศตวรรษที่ 16 และทำการล่าแบบดั้งเดิมจนกระทั่งถึงเดือน ก.พ. 2005 เมื่อกฎหมายห้ามการล่าจิ้งจอกในอังกฤษและเวลส์มีผลบังคับใช้ การห้ามล่าสัตว์ในสกอตแลนด์ผ่านในปี 2002 แต่การล่ายังคงอยู่ภายใต้กฎหมายในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร

กฎหมายห้ามล่าสุนัขจิ้งจอกผ่านโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรจากพรรคแรงงานในยุคโทนี แบลร์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในหนังสือประวัติของแบลร์ เรื่อง “Tony and Cherie: A Special Relationship” พอล สก็อตต์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เผยว่า ในตอนแรกเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ หรือในขณะนี้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงมีความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับพรรคแรงงาน

อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้อ้างว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงไม่พอพระทัยที่รัฐบาลพรรคแรงงานแบนการล่าสุนัขจิ้งจอก นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยพระราชหัตถเลขาหรือจดหมายของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ (ในขณะนั้น) ทรงอ้างว่าการล่าสุนัขจิ้งจอกเป็น “ความโรแมนติก” โดยทรงพยายามเกลี้ยกล่อมให้แบลร์อย่าผ่านกฎหมายห้ามการล่า

เครดิตภาพ : mirror.co.uk

จดหมายของชาร์ลส์ที่เผยแพร่ผ่าน Mail เมื่อปี 2017 ภายใต้กฎเสรีภาพในการให้ข้อมูล ได้มีการเปิดเผยเนื้อหาว่า “มี … ความสับสนอย่างยิ่งยวดที่รัฐบาลตอบสนองต่อการเรียกร้องให้สั่งห้ามบางสิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงซึ่งไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งไม่สร้างมลพิษให้กับชนบท และเป็นเรื่องธรรมชาติโดยสมบูรณ์ โดยอาศัยความสัมพันธ์แบบโบราณของมนุษย์กับสุนัขและม้าอย่างแท้จริง”

ในจดหมายยังทรงกล่าวว่า “มีอดีตผู้ก่อวินาศกรรมขัดขวางการล่า (หมายถึงกลุ่มนักอนุรักษ์) จำนวนหนึ่งและคู่กรณีกับการล่าสัตว์ … ได้ข้อสรุปว่าสวัสดิภาพของสุนัขจิ้งจอกที่แท้จริงนั้น สามารถรับประกันได้ดีที่สุดจากการล่าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง วิธีการจัดระเบียบและควบคุมในปัจจุบัน คนเหล่านี้ตระหนักดีว่าผู้ต่อสู้ร่วมกับพวกเขาส่วนใหญ่ ขับเคลื่อนโดยวาระอื่นนอกเหนือจากสวัสดิภาพของสุนัขจิ้งจอก นั่นคือความเกลียดชังของพวกเขาต่อประเภทของบุคคลที่พวกเขาคิดว่าจะออกไปล่าสัตว์”

ข้อความนี้ สามารถตีความได้ว่า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเห็นว่าแม้แต่ผู้ต่อต้านการล่าสุนัขจิ้งจอกก็ยังยอมรับว่าการล่าสุนัขจิ้งจอกเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์พวกมัน แต่คนที่ต่อต้านไม่ยอมรับความจริงนี้ เพราะพวกเขาไม่ได้ต่อต้านการล่าสุนัขจิ้งจอก แต่แต่ต้านคนล่า คือกลุ่มชนชั้นสูงต่างหาก

ทั้งนี้ หากตัดเรื่องชนชั้นออกไป สุนัขจิ้งจอกถูกเรียกว่าเป็นสัตว์ที่เป็นภัยต่อการเกษตรในบางประเทศ เกษตรกรบางคนกลัวการสูญเสียปศุสัตว์ขนาดเล็กจากการถูกสุนัขจิ้งจอกมาทำร้าย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นแบบนั้น เพราะมีคนอื่น ๆ มองว่าพวกมันเป็นพันธมิตรในการควบคุมกระต่าย ท้องนา และสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ซึ่งกินพืชผล

เหตุผลหลักที่เกษตรกรไม่ชอบสุนัขจิ้งจอกก็คือแนวโน้มที่พวกมันจะทำการฆ่าเกินเหตุ เช่น มันมักจะฆ่าไก่ไปหลายตัว แล้วจึงกินเพียงตัวเดียว

ข้อมูลจาก
• MATTHEW KIRKHAM. (Mar 7, 2019). “Royal RAGE: How Prince Charles was ‘FURIOUS with Tony Blair over fox hunting'”. express.
• Ben Glaze, Nicola Bartlett. (8 Oct 2017). “Prince Charles claimed fox hunting was “romantic” as he tried to persuade Tony Blair not to ban the cruel bloodsport”. mirror.
ภาพ: Owain.davies/wikipedia

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน