ญี่ปุ่นต่อเรือแม่ ‘ล่าวาฬ’ ลำใหม่ หวังส่งต่อวัฒนธรรมรุ่นต่อรุ่น

“หากไม่มีการสร้างเรือแม่ลำใหม่ เราจะไม่สามารถส่งต่อวัฒนธรรมการล่าวาฬของเราไปยังคนรุ่นต่อไปได้” ประธานบริษัท เกียวโด เซนปาคุ คาอิชา กล่าวในงานแถลงข่าว

บริษัท เกียวโด เซนปาคุ คาอิชา ผู้ให้บริการเรือแม่สำหรับล่าวาฬรายเดียวในโลก กำลังสร้างเรือแม่สำหรับล่าวาฬลำใหม่ในเมืองชิโมโนเซกิ จังหวัดยามากุจิ เพื่อทดแทนเรือแม่ลำเก่าที่ปลดประจำการ โดยเรือแม่ลำใหม่นี้สามารถแล่นได้นาน 60 วันและเดินทางได้ 13,000 กม.

ฮิเดกิ โทโคโระ ประธานบริษัทเกียวโด เซนปาคุ คาอิชา วัย 68 ปี กล่าวว่าต้องการคงวิธีการล่าวาฬแบบที่มีเรือแม่เป็นศูนย์กลางหรือเป็นแม่ข่ายให้เรือเล็กออกไปล่า โดยกล่าวในงานแถลงข่าวว่า “หากไม่มีการสร้างเรือแม่ลำใหม่ เราจะไม่สามารถส่งต่อวัฒนธรรมการล่าวาฬของเราไปยังคนรุ่นต่อไปได้”

เรือแม่สำหรับล่าวาฬจะมีขนาดใหญ่ โดยจะให้บริการแยกชิ้นส่วนวาฬที่ถูกจับมาจากเรือลำเล็กอีกที เพื่อทำการแช่แข็งและจัดเก็บเนื้อวาฬไว้ก่อนส่งเข้าฝั่ง

โดยปกติแล้วเนื้อวาฬจะมี 2 ประเภทคือแบบแช่แข็งและแบบสด โดยแบบสดจะถูกนำมาประมูลที่ตลาดค้าส่งท้องถิ่น จากคำบอกเล่าขอผู้บริโภคระบุว่าเนื้อสดนั้นรสชาติดีกว่าเนื้อวาฬแช่แข็ง

ตามประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกระบุว่าคนญี่ปุ่นล่าวาฬมานานนับพันปี Shinrato Sato เจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นแบบอิซากายะในย่านชินจูกุของโตเกียวให้สัมภาษณ์กับ CNN  ว่าความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมขญี่ปุ่นกับการล่าวาฬมีมายาวนานกว่า 4,000 ปี เขาการกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดยักษ์เป็นวัฒนธรรมการทำอาหารอันล้ำค่าของญี่ปุ่น

ถึงแม้จะมีจากการสำรวจในหลายครั้งแสดงให้เห็นว่ามีชาวญี่ปุ่นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยังบริโภคเนื้อวาฬหรือวางแผนที่จะซื้อเนื้อวาฬต่อ

วาฬ, โลมากำลังหายนะ เส้นทางอพยพ-แหล่งอาหาร ถูกคุกคามอย่างหนัก

กระแสบริโภคเนื้อวาฬลดลง สองธุรกิจรายใหญ่ในไอซ์แลนด์ประกาศหยุดล่า

ในปี 2562 ความกังวลระดับนานาชาติเกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นขอถอนตัวจากคณะกรรมการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC) ที่ตั้งขึ้นเพื่อจำกัดการล่าวาฬ และกลับมาทำการล่าวาฬเชิงพาณิชย์อีกครั้งโดยเป็นประเทศเดียวที่ยังคงใช้วิธีเรือแม่ในการล่าวาฬเชิงพาณิชย์

เมืองชิโมะโนะเซกิซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดการล่าวาฬสมัยใหม่ในญี่ปุ่น มีเป้าหมายที่จะเป็นท่าเรือหลักสำหรับกองเรือล่าวาฬที่นำโดยเรือแม่ลำใหม่ โดยสภาเมืองจะให้เงินอุดหนุนการต่อก่อสร้างท่าเรือ 300 ล้านเยน

“เป็นความปรารถนาอันแรงกล้าของเราที่จะได้เห็นเรือแม่ล่าวาฬถูกสร้างขึ้น” ชินทาโร มาเอดะ นายกเทศมนตรีเมืองชิโมะโนะเซกิ กล่าวในการแถลงข่าว

“ฉันหวังว่าวัฒนธรรมการกินเนื้อวาฬจะแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นและชาวญี่ปุ่นทั่วไป”

ที่มา

  • Feb 13, 2023. Japan’s new whaling ‘mother ship’ being built to travel as far as Antarctica. The Guardian
  • Feb 13, 2023. New Japan Whaling Ship Capable of Reaching Antarctic. he International Marine Mammal Project (IMMP)
  • Nov 17, 2021. Japan’s Whaling Ships Kill 212 Whales. The Japan News
  • Sep 14, 2018. Why Japan wants to restart commercial whaling. CNN

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

‘เลียงผา’ นักสู้แห่งขุนเขา กับ 3 ปัจจัย สูญพันธุ์